วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ต้นกำเนิดของภาษาอังกฤษ

เราอาจประหลาดใจว่าภาษาเกิดขึ้นมาได้อย่างไร?
สำคัญมากที่เราต้องทราบ บังเอิญมีคำตอบง่าย ๆ คือเราไม่ทราบ มันเกิดมานานจนพูดได้ว่าไม่มีทางที่มนุษย์เราจะคาดคั้นเอาความลับนี้ออกมาจากอดีตที่เลือนลางได้ มนุษย์ในบรรพกาลมีความจำเป็นอย่างที่สุดที่จะสื่อข้อความกัน เตือนซึ่งกันและกันถึงภัยอันตราย แสดงออกซึ่งความต้องการและความอยากที่ทุกคนมีเหมือน ๆ กัน จะด้วยวิธีใดก็ตาม แต่ละกลุ่มชนก็ได้ตกลงว่าจะเรียกสิ่งโน้นสิ่งนี้ว่าอย่างไร แต่ด้วยวิธีใดนั้นเราก็ไม่ทราบ ทฤษฎีเกี่ยวกับกำเนิดของภาษานั้นมีมาก แต่ก็เป็นแค่การเดา ถึงแม้ว่าจะเป็นทฤษฎีที่น่าสนใจมากก็ตาม อย่างไรก็ตาม มีรากศัพท์อยู่กลุ่มหนึ่งที่เป็นข้อยกเว้นของกฎนี้ ซึ่งเราทราบว่าทำไมคำจึงมีความหมายเช่นนั้น คำจำพวกนี้เป็นคำเลียนเสียง ( onomatopoeic ) ซึ่งเป็นคำเลียนเสียงตามธรรมชาติและรวมกันเป็นกลุ่มที่น่าสนใจและมีเสน่ห์
เมื่อเราบอกว่าสิงโต roar ( คำราม ) นั่นคือเราใช้รากศัพท์แล้ว เราเห็นได้ชัด ๆ ว่า roar นั้นเป็นความพยายามที่จะเลียนเสียงร้องของสิงโต ในลักษณะเดียวกัน ผึ้ง buzz, งู hiss, นก chirp, ลำธาร babble เป็นต้น แต่รากศัพท์ที่เป็นคำเลียนเสียงเหล่านี้เป็นข้อยกเว้น ในกรณีอื่น ๆ เราไม่ทราบว่าทำไมเสียงต่าง ๆ ที่เปล่งออกมาเป็นลำดับนั้นจึงถูกเลือกให้มีความหมายเป็นอย่างหนึ่ง สิ่งที่ชาวฝรั่งเศสได้ทำต่อภาษาละติน ( และภาษาอังกฤษ ) ในปี ค.ศ. 1066 ได้เกิดเหตุการณ์ซึ่งพรหมลิขิตได้กำหนดไว้ เพื่อเปลี่ยนรูปโฉมของภาษาอังกฤษตลอดไปชั่วกาลนาน ขุนนางชั้นสูงสุดแห่งแคว้นนอร์มังดี ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส และเป็นที่รู้จักกันในนามว่า William the Conqueror ได้ข้ามช่องแคบและเอาชนะประเทศอังกฤษ พวกทหาร ขุนนาง และเจ้าหน้าที่ชาวฝรั่งเศสจากแคว้นนอร์มังดีและชนชาติรวมถึงผู้ที่ใช้ภาษาแองโกล-แซกซอน ก็อยู่เคียงบ่าเคียงไหล่กันในอังกฤษในสภาพคล้ายการพักรบที่อึดอัด ชาวแองโกล-แซกซอน ยึดมั่นอยู่กับภาษาของเขาอย่างเหนียวแน่น ประชากรก็พูดภาษาเดิมอย่างไม่ยอมเปลี่ยนแปลง
อย่างไรก็ตาม จากสังคมระดับสูง คำศัพท์ภาษาฝรั่งเศสจำนวนมากได้ไหลหลั่งเข้าไปในภาษาแองโกล-แซกซอน นี่อาจจะเป็นการซึมซาบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของภาษาต่างชาติที่ภาษาใดภาษาหนึ่งได้ประสบมาในสมัยปัจจุบัน เพื่อที่จะเห็นคุณค่าของความสำคัญทางภาษาของเหตุการณ์นี้ เราต้องคำนึงถึงบางสิ่งบางอย่างที่น่าสนใจมาก ใน ศตวรรษที่หนึ่งก่อนคริสต์กาล เมื่อโรมชนะฝรั่งเศส พวกฝรั่งเศสโบราณรวมทั้งพวก Franks ได้ยอมรับภาษาใหม่ พวกนี้ทิ้งภาษา Celt และภาษาเยอรมันโบราณของพวกเขาและรับเอาภาษาละตินเป็นภาษาพูด เนื่องจากภาษาละตินเป็นของใหม่สำรับพวกเขา ทำให้สะเพร่าเวลาพูด ออกเสียงเป็นเสียงเบาบ้าง ควบเสียงไปบ้าง และตัดคำให้สั้นลงบ้าง แทบจะไม่มีคำละตินคำไหนที่ไม่ถูกทำให้พิการโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง แต่ถึงแม้ว่าคำจะเปลี่ยนไป ปกติแล้วก็ยังสามารถเห็นรากละตินอยู่ รูปแบบหนึ่งที่ทำกันมากที่สุดในการออกเสียงเคล้ากันไปของคำละตินในภาษาฝรั่งเศสคือการตัดเสียงกระด้างที่อยู่กลางคำออกไป อาทิ คำภาษาฝรั่งเศสสำหรับคำว่า kingly ได้กลายเป็น royal ซึ่งเดิมทีมาจากคำละติน regal โดยมี ‘g’ ตรงกลางออกเสียงกระด้าง ดังนั้นเมื่อชาวแองโกล-แซกซอนเริ่มรับเอาคำภาษาฝรั่งเศสนั้น แท้จริงแล้วเขากำลังรับเอาคำละตินในรูปแบบของภาษาฝรั่งเศสต่างหาก ในปีศตวรรษแห่ง ค.ศ. ที่ 15 ได้มีการฟื้นฟูทางอักษรศาสตร์และศิลปวิทยา การฟื้นฟูความสนใจในวัฒนธรรมโบราณของกรีกและละตินนี้ได้นำเอาคำศัพท์โดยตรงจากภาษาละตินเป็นจำนวนมากเข้ามาในภาษาอังกฤษ ทีนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ก็คือ ภาษาอังกฤษได้ยืมคำภาษาฝรั่งเศสมาแล้ว และหลังจากนั้นในช่วงแห่งการฟื้นฟูทางอักษรศาสตร์และศิลปวิทยา และแทบจะต่อเนื่องกันมาโดยตลอด ภาษาอังกฤษก็ยืมคำศัพท์โดยตรงจากภาษาละตินอีก บ่อยครั้งที่ภาษาอังกฤษได้ยืมคำคำเดียวกันจากภาษาละตินซึ่งหลายศตวรรษก่อนก็ได้ยืมมาจากภาษาฝรั่งเศส ดังนั้น ในภาษาอังกฤษจึงมีคำมากมายที่เรียกว่า “doublets” ( คำคู่ ) ซึ่งหมายถึง คำสองคำที่ต่างกันแต่มาจากแหล่งเดียวกัน จงมาดูตัวอย่างของคำที่น่าสนใจเหล่านี้
จากภาษาละติน จากภาษาฝรั่งเศส Regal เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ Royal
เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ Secure ปลอดภัย Sure แน่นอน Fragile
อ่อนแอ Frail อ่อนแอ Decadence สลักหักพัง Decay สลักหักพัง Median (in the middle)
อยู่ตรงกลาง Mean (average) จำนวนเฉลี่ย Redemption การไถ่ถอน Ransom ค่าไถ่ Senior
ผู้มีอาวุโส sire , sir ท่าน Predatory สัตว์ที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร Prey เหยื่อ Tincture
ยาละลายแอลกอฮอล์ Taint ทำเปื้อน การเปลี่ยนแปลงอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจและพิสดารที่ภาษาฝรั่งเศสทำบ่อย ๆ กับคำละตินคือ การเปลี่ยนอักษร ‘c’ หรือ ‘k’ ที่มีเสียงกระด้างให้เป็น ‘ch’ โดยวิธีนี้เสียงของคำเปลี่ยนไปอย่างมากและมักทำให้ยากในการที่จะรู้ว่าเป็นคำอะไร บ่อยมากที่คำเหล่านี้ซึ่งภาษาฝรั่งเศสดัดแปลงมาจากภาษาละตินได้ถูกนำไปใช้ในภาษาอังกฤษ และคำเดียวกันนี้ในรูปแบบดั้งเดิมในภาษาละตินก็ถูกนำเข้ามาในภาษาอังกฤษเช่นกัน ปัจจุบันคำเหล่านี้มีอยู่ในภาษาอังกฤษในสองรูปแบบที่ต่างกันดังนี้ 1. คำละตินดั้งเดิมที่มีอักษร ‘c’ หรือ ‘k’ ที่ออกเสียงกระด้าง 2. คำที่อักษร ‘c’ เปลี่ยนเป็นรูปแบบ ‘ch’ ของภาษาฝรั่งเศส ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของคำสองคำที่มาจากรากเดียวกัน
จากภาษาละติน จากภาษาฝรั่งเศส Trickery การเล่นเล่ห์เหลี่ยม Treachery ทรยศ Cattle ปศุสัตว์ Chattle
ข้าวของส่วนตัวยกเว้นบ้านและที่ดิน Canal คลอง Channel ทางน้ำไหล Cadence ( the way things fall) Chance
โอกาส จังหวะในการพูดหรือดนตรี ( ลักษณะการ Chute ทางลาด ทางน้ำตก ตกของสิ่งของ) Parachute ร่มชูชีพ
Captain ( the head man ) หัวหน้า Chief หัวหน้า, achieve ได้รับความสำเร็จ Incision รอยแหวะ
Chisel สิ่ว Kirk โบสถ์ Church โบสถ์ รากและพยางค์ต่อท้ายคำ เมื่อเราเริ่มที่จะสามารถรู้จักรากของคำ
เราสามารถเพิ่มจำนวนคำศัพท์ได้อย่างมากมาย คำศัพท์ต่าง ๆ มากันเป็นกลุ่ม และเราสามารถรู้ได้ทันทีว่าเป็นรากรากเดียวที่เราเห็นอยู่ในหลาย ๆ คำที่แตกต่างกันแต่ก็มีความหมายสัมพันธ์กัน ภาษาอังกฤษได้ยืมคำมาจากหลายภาษาและเราจะรู้สึกในทันทีทันใดว่าเรารู้คำต่างภาษาหลายคำ ภาษาอื่น ๆ ก็ได้ยืมคำจากภาษาอังกฤษไปใช้เหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อเราได้ยินหรือเห็นภาษาต่างประเทศ ก็จะรู้สึกคุ้น ๆ กับหลาย ๆ คำ เป็นเรื่องสนุกที่รู้หลายภาษาและเดาความหมายของคำศัพท์ต่าง ๆ จากรากและจากการเปลี่ยนแปลงของรากนั้น ๆ เราอาจจะเติมหนึ่งหรือหลายพยางค์ไว้ข้างหน้าหรือหลังราก เมื่อทำเช่นนี้แล้ว คำก็ถูกเปลี่ยนไปในลักษณะที่สำคัญบางประการ โดยความหมายอาจเปลี่ยนไป เช่น คำ ‘press’ ซึ่งหมายความว่า ‘บีบ’ หรือ ‘เร่งเร้า’ อาจกลายเป็น Express แสดงความหมาย Oppress ทำให้เป็นภาระหนัก Impress ทำให้รู้สึก Suppress เหยียบให้แบน Repress ระงับ Compress อัดให้แน่น Depress ทำให้เศร้าโศก วิธีการสร้างคำใหม่ ภาษาเป็นสิ่งที่มีชีวิตและเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ภาษาไม่อยู่นิ่งกับที่ แต่ปรับเปลี่ยนเสมอ คำบางคำก็กลายเป็นคำเก่าพ้นสมัยและหลุดหายไปจากภาษา บางคำก็มีความหมายเปลี่ยนไป มีคำใหม่ ๆ เข้ามาเพิ่มอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีการประดิษฐ์หรือการค้นพบใหม่เกิดขึ้น ก็จะต้องมีการสร้างคำใหม่ บางครั้งคำใหม่นั้นก็เป็นแค่ชื่อของผู้ประดิษฐ์ เช่น คำ ‘sandwich’ ก็มีเรื่องเล่ากันมาว่าคำนี้มาจาก Earl of Sandwich เขาว่าท่านเป็นผู้คิดอาหารชนิดนี้ขึ้นมาเพื่อว่าท่านจะได้ไม่ต้องลุกจากโต๊ะการพนันเพื่อไปรับประทานอาหาร บางครั้งคำใหม่ก็เป็นคำที่ถูกยืมมาจากเทพนิยาย เช่น คำ vulcanize ( การทำยางโดยวิธีผสมกับกำมะถัน ) มาจากเทพเจ้าของพวกโรมัน เทพเจ้านี้ดูแลเรื่องไฟและงานหลอมโลหะนามว่า Vulcan บางครั้งคำใหม่ประกอบด้วยอักษรตัวแรกของวลีที่อธิบายความหมายของคำใหม่ เช่น radar มาจาก radio detecting and ranging ( การสืบหาและตรวจระยะด้วยคลื่นวิทยุ ) คำ jeep ใช้อักษรแรกของคำรวมกับการเลียนเสียงรถใช้งานทั่วไป ( General Purpose Car) ซึ่งพัฒนาขึ้นมาสำหรับกองทัพสหรัฐ ฯ ในสงครามโลกครั้งที่สอง และเป็นที่เชื่อกันทั่วไปว่าชื่อนี้ได้มาจากเสียงของตัวแสดงซึ่งเป็นสัตว์ตลกตัวน้อยๆ ชื่อ Eugene the Jeep คิดสร้างขึ้นมาโดยนักเขียนภาพการ์ตูนขบขันชื่อ E.C. Segar บางครั้งคำใหม่ก็มาจากรากคำภาษาต่างประเทศคำที่น่าสนใจชนิดนี้คำหนึ่งคือคำว่า Anesthesia ( ยาสลบ ) โดย Dr. William T.S. Morton เป็นผู้ใช้ยาสลบเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1846 ที่โรงพยาบาลกลางของรัฐแมสซาชูเสตตส์ นายแพทย์ก้มตัวลงคุยกับคนป่วยของเขาซึ่งเป็นชายอายุ 20 ปี ที่ป่วยด้วยโรคเนื้องอกที่ขากรรไกร แล้วถามเขาว่า “ คุณพร้อมสำหรับการผ่าตัดไหม? ” “ พร้อมครับ ” เสียงตอบอันแผ่วเบา ผู้ที่เฝ้าดูอยู่รอบ ๆ ต่างก็หัวเราะด้วยความยินดี การผ่าตัดได้กระทำเรียบร้อยไปแล้ว นายแพทย์ Morton ได้ค้นพบว่า ธาตุอีเทอร์ทำให้ไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด และเขาได้ให้ผู้ป่วยสูดหายใจธาตุอีเทอร์เข้าไปก่อนหน้าการผ่าตัด เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์มนุษย์ที่มีดได้ตัดเนื้อสด ๆ ที่ยังมีชีวิตและไม่มีความเจ็บปวดได้ เป็นโอกาสอันสำคัญโอกาสหนึ่งในประวัติศาสตร์ โลกซึ่งเบื่อหน่ายต่อความเจ็บปวดได้เห็นชัยชนะในทันท และรู้สึกปีติยินดี Oliver Wendell Holmes, Sr. นักเขียนและนายแพทย์ชาวอเมริกันได้ใช้โอกาสเพิ่มคำสองคำให้กับภาษาอังกฤษ เขาใช้พยางค์ “an” ซึ่งแปลว่า ปราศจาก ใส่ลงในหน้ารากคำกรีก “aisthesis” ซึ่งแปลว่า ความรู้สึก หรือ ความรู้สึกทางประสาท และสร้างคำว่า anesthesia ขึ้นมาซึ่งแปลว่า การสูญเสียความรู้สึกเจ็บ และคำ anesthetic ซึ่งแปลว่า ยาที่ก่อให้เกิดการสูญเสียความรู้สึกเจ็บ anesthetist หรือ anesthesiologist คือ นายแพทย์ผู้ชำนาญการใช้ยาสลบ คำว่า esthete ซึ่งหมายความถึงบุคคลที่มีความรู้สึกสำหรับศิลปะและความงามมากเกินไป ก็เกี่ยวกับรากศัพท์ในภาษากรีก ‘esthetic’ ซึ่งหมายถึง ‘อย่างงดงาม’

ไม่มีความคิดเห็น: