วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ฤดูหนาวในรัสเซีย


คำว่าฤดูหนาว ภาษารัสเซียเข้าใช้คำว่า зима อ่านว่า zi-ma พอพูดถึงฤดูหนาวในรัสเซีย หลายคนอาจมีภาพประทับที่โหดร้ายจากชีวิตของผู้คนรัสเซียในฤดูหนาวของภาพยนตร์เรื่องดร.ชีวาโก แต่ความจริงไม่ใช่ค่ะ รัสเซียเป็นประเทศที่สวยอยู่แล้วในทุกฤดู และสวยเป็นอย่างยิ่งในฤดูหนาว ปุชกิ้นถึงพูดไว้ในบทกวีเรื่องหนึ่งว่า У природы нет плохой погоды “ธรรมชาติมีความงดงามอยู่ในตัวไม่ว่าจะฤดูใหนก็ตาม” ที่น่าสนใจคือ เราพบคำ зима นี้ในภาษาสันสกฤตด้วยเช่นกัน คือคำว่า ฌิมะ หรือ หิมะ เสียงอาจจะเพี้ยนไปนิด แต่มีความหมายเดียวกันคือ เหมันตฤดู ที่แปลว่าฤดูหนาวจากภาษาสันสกฤต แม้ว่าคนไทยจะใช้คำว่า หิมะ เรียกปุยน้ำแข็ง ซึ่งความหมายอาจจะเพี้ยนไปนิด แต่ก็เป็นที่เข้าใจว่า พูดในสิ่งเดียวกัน
ภาษารัสเซียไม่เพียงแต่ผูกพันกับภาษาสันสกฤตเท่านั้น แต่ยังรับเอาภาษาของประเทศต่างๆมาใช้อย่างแพร่หลายอีกด้วยค่ะ โดยเฉพาะ จากภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส เช่น คำว่า лето ที่แปลว่า ฤดูร้อน ก็มาจากคำภาษาฝรั่งเศส L’ete ในขณะที่ คำว่า холод ที่แปลว่า หนาวเย็น ก็มาจากภาษาอังกฤษคำว่า cold และที่รับเอามาใช้ตรงๆเลยก็เยอะมาก ในห้วงเวลาหนึ่งของสังคมรัสเซียหลังศตวรรษที่ 18 โดยเฉพาะในสมัยที่เรียกว่า Renaissance เป็นต้นมานั้น ฝรั่งเศสเป็นชาติที่มีเสน่ห์มากที่สุดของโลกค่ะ ทั้งจากปรัชญา วิถีการดำรงชีวิตของผู้คน ศิลปะ ดนตรี บทกวีและภาษา สังคมชนชั้นสูงของรัสเซียรับเอาคตินิยมแบบฝรั่งเศสมาใช้ในชีวิตประจำวันของชนชั้นตน ตั้งแต่ราชสำนักลงมาจนถึงขุนนางชั้นสูง ปัญญาชนและคหบดีผู้มั่งคั่ง พวกเขาพูดภาษาฝรั่งเศสกันเป็นภาษาหลักค่ะ น้องๆ กลับไปดูซิคะว่าปุชกิ้น กวีเอกรัสเซียแต่งกวีด้วยภาษาอะไร และปโยตร์ ไชคอฟสกี้ แต่งผลงานดนตรีคลาสสิคของตนด้วยภาษาอะไร ถ้าไม่ใช่ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซียใช้กันในหมู่ชนชั้นชาวนาและไพร่เท่านั้นค่ะ เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเตรียมเสด็จเยือนรัสเซียในปีค.ศ. 1897 รัฐบาลสยามต้องใช้พระยาสุริยานุวัตร ราชทูตไทยประจำกรุงปารีสเป็นผู้ประสานงานการติดต่อกับราชสำนักรัสเซีย และเมื่อสยามตั้งสถานราชทูตที่กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเมื่อปีค.ศ. 1900 แล้ว เราต้องจ้างชาวฝรั่งเศสมาเป็นนักการทูตให้เราหลายคนเพื่อประโยชน์ในการสื่อสารกับรัฐบาลรัสเซียในสมัยนั้นไงล่ะคะ ครั้นเมื่อรัสเซียเริ่มเติบใหญ่เป็นชาติมหาอำนาจในช่วงศตวรรษที่ 19 กับเขาบ้าง คนรัสเซียก็เริ่มใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการมากขึ้น แต่ใช้ในแบบที่สังคมไทยนิยมสื่อสารกันอยู่ในเวลานี้ คือพูดไทยคำอังกฤษคำ คิดว่าชาวบ้านเขาจะรู้เรื่อง ก็เปล่า ยิ่งฝรั่งแล้ว ยิ่งไม่รู้เรื่องเข้าไปอีก คนรัสเซียก็เช่นเดียวกัน พูดรัสเซียคำฝรั่งเศสคำ ภาษารัสเซียจึงมีคำศัพท์ภาษาฝรั่งเศสปนอยู่เยอะมาก รองลงมาเป็นภาษาอังกฤษ ยิ่งในปัจจุบันนี้ซึ่งอิทธิพลของระบบทุนนิยมที่ผ่านเข้าจากประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะ จาก สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ สาขาวิชาใหม่ๆที่เปิดสอนกันในมหาวิทยาลัยของรัสเซีย โดยเฉพาะ สาขาการจัดการ บริการธุรกิจ การเงินและคอมพิวเตอร์ ใช้คำภาษาอังกฤษทับศัพท์กันเกือบจะทั้งหมดเลยทีเดียว ครูนาตาชาเขียนถึงตรงนี้ ต้องการจะบอกน้องๆว่า แม้ภาษารัสเซียจะมีชื่อเสียงขจรขจายว่าเป็นภาษาที่ยากที่สุดของโลกรองจากจีนและอาหรับ ก็อาจไม่จริงเสมอไปค่ะ เพราะที่สาธยายมาทั้งหมดข้างต้นซึ่งเป็นข้อสังเกตจากประสบการณ์ของครูนั้น เพื่อจะบอกว่า ภาษานี้มีด้านที่ไม่ยากเหมือนกัน ถ้าน้องมีความรู้ภาษาฝรั่งเศสหรืออังกฤษเป็นพื้นมาก่อน แต่ถ้าใครมีไม่แข็งแรง ก็จงหาหนังสือภาษาอังกฤษมาอ่านเยอะๆ ให้เป็นนิสัย เมื่อใดที่ได้ศัพท์ภาษาอังกฤษ ก็จะได้ศัพท์ภาษารัสเซียส่วนหนึ่งด้วยโดยอาฟตามาติเชสกี้ค่ะ เห็นมั๊ย เชื่อหรือยังคะ

ไม่มีความคิดเห็น: