วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ฤดูหนาวในรัสเซีย


คำว่าฤดูหนาว ภาษารัสเซียเข้าใช้คำว่า зима อ่านว่า zi-ma พอพูดถึงฤดูหนาวในรัสเซีย หลายคนอาจมีภาพประทับที่โหดร้ายจากชีวิตของผู้คนรัสเซียในฤดูหนาวของภาพยนตร์เรื่องดร.ชีวาโก แต่ความจริงไม่ใช่ค่ะ รัสเซียเป็นประเทศที่สวยอยู่แล้วในทุกฤดู และสวยเป็นอย่างยิ่งในฤดูหนาว ปุชกิ้นถึงพูดไว้ในบทกวีเรื่องหนึ่งว่า У природы нет плохой погоды “ธรรมชาติมีความงดงามอยู่ในตัวไม่ว่าจะฤดูใหนก็ตาม” ที่น่าสนใจคือ เราพบคำ зима นี้ในภาษาสันสกฤตด้วยเช่นกัน คือคำว่า ฌิมะ หรือ หิมะ เสียงอาจจะเพี้ยนไปนิด แต่มีความหมายเดียวกันคือ เหมันตฤดู ที่แปลว่าฤดูหนาวจากภาษาสันสกฤต แม้ว่าคนไทยจะใช้คำว่า หิมะ เรียกปุยน้ำแข็ง ซึ่งความหมายอาจจะเพี้ยนไปนิด แต่ก็เป็นที่เข้าใจว่า พูดในสิ่งเดียวกัน
ภาษารัสเซียไม่เพียงแต่ผูกพันกับภาษาสันสกฤตเท่านั้น แต่ยังรับเอาภาษาของประเทศต่างๆมาใช้อย่างแพร่หลายอีกด้วยค่ะ โดยเฉพาะ จากภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส เช่น คำว่า лето ที่แปลว่า ฤดูร้อน ก็มาจากคำภาษาฝรั่งเศส L’ete ในขณะที่ คำว่า холод ที่แปลว่า หนาวเย็น ก็มาจากภาษาอังกฤษคำว่า cold และที่รับเอามาใช้ตรงๆเลยก็เยอะมาก ในห้วงเวลาหนึ่งของสังคมรัสเซียหลังศตวรรษที่ 18 โดยเฉพาะในสมัยที่เรียกว่า Renaissance เป็นต้นมานั้น ฝรั่งเศสเป็นชาติที่มีเสน่ห์มากที่สุดของโลกค่ะ ทั้งจากปรัชญา วิถีการดำรงชีวิตของผู้คน ศิลปะ ดนตรี บทกวีและภาษา สังคมชนชั้นสูงของรัสเซียรับเอาคตินิยมแบบฝรั่งเศสมาใช้ในชีวิตประจำวันของชนชั้นตน ตั้งแต่ราชสำนักลงมาจนถึงขุนนางชั้นสูง ปัญญาชนและคหบดีผู้มั่งคั่ง พวกเขาพูดภาษาฝรั่งเศสกันเป็นภาษาหลักค่ะ น้องๆ กลับไปดูซิคะว่าปุชกิ้น กวีเอกรัสเซียแต่งกวีด้วยภาษาอะไร และปโยตร์ ไชคอฟสกี้ แต่งผลงานดนตรีคลาสสิคของตนด้วยภาษาอะไร ถ้าไม่ใช่ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซียใช้กันในหมู่ชนชั้นชาวนาและไพร่เท่านั้นค่ะ เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเตรียมเสด็จเยือนรัสเซียในปีค.ศ. 1897 รัฐบาลสยามต้องใช้พระยาสุริยานุวัตร ราชทูตไทยประจำกรุงปารีสเป็นผู้ประสานงานการติดต่อกับราชสำนักรัสเซีย และเมื่อสยามตั้งสถานราชทูตที่กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเมื่อปีค.ศ. 1900 แล้ว เราต้องจ้างชาวฝรั่งเศสมาเป็นนักการทูตให้เราหลายคนเพื่อประโยชน์ในการสื่อสารกับรัฐบาลรัสเซียในสมัยนั้นไงล่ะคะ ครั้นเมื่อรัสเซียเริ่มเติบใหญ่เป็นชาติมหาอำนาจในช่วงศตวรรษที่ 19 กับเขาบ้าง คนรัสเซียก็เริ่มใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการมากขึ้น แต่ใช้ในแบบที่สังคมไทยนิยมสื่อสารกันอยู่ในเวลานี้ คือพูดไทยคำอังกฤษคำ คิดว่าชาวบ้านเขาจะรู้เรื่อง ก็เปล่า ยิ่งฝรั่งแล้ว ยิ่งไม่รู้เรื่องเข้าไปอีก คนรัสเซียก็เช่นเดียวกัน พูดรัสเซียคำฝรั่งเศสคำ ภาษารัสเซียจึงมีคำศัพท์ภาษาฝรั่งเศสปนอยู่เยอะมาก รองลงมาเป็นภาษาอังกฤษ ยิ่งในปัจจุบันนี้ซึ่งอิทธิพลของระบบทุนนิยมที่ผ่านเข้าจากประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะ จาก สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ สาขาวิชาใหม่ๆที่เปิดสอนกันในมหาวิทยาลัยของรัสเซีย โดยเฉพาะ สาขาการจัดการ บริการธุรกิจ การเงินและคอมพิวเตอร์ ใช้คำภาษาอังกฤษทับศัพท์กันเกือบจะทั้งหมดเลยทีเดียว ครูนาตาชาเขียนถึงตรงนี้ ต้องการจะบอกน้องๆว่า แม้ภาษารัสเซียจะมีชื่อเสียงขจรขจายว่าเป็นภาษาที่ยากที่สุดของโลกรองจากจีนและอาหรับ ก็อาจไม่จริงเสมอไปค่ะ เพราะที่สาธยายมาทั้งหมดข้างต้นซึ่งเป็นข้อสังเกตจากประสบการณ์ของครูนั้น เพื่อจะบอกว่า ภาษานี้มีด้านที่ไม่ยากเหมือนกัน ถ้าน้องมีความรู้ภาษาฝรั่งเศสหรืออังกฤษเป็นพื้นมาก่อน แต่ถ้าใครมีไม่แข็งแรง ก็จงหาหนังสือภาษาอังกฤษมาอ่านเยอะๆ ให้เป็นนิสัย เมื่อใดที่ได้ศัพท์ภาษาอังกฤษ ก็จะได้ศัพท์ภาษารัสเซียส่วนหนึ่งด้วยโดยอาฟตามาติเชสกี้ค่ะ เห็นมั๊ย เชื่อหรือยังคะ

วันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2551




















ประเทศออสเตรีย

ออสเตรีย (Austria) (ภาษาเยอรมัน: Österreich, ภาษาโครเอเชีย: Austrija, ภาษาฮังการี: Ausztria, ภาษาสโลวีเนีย: Avstrija) มีชื่อประเทศอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐออสเตรีย (Republic of Austria) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในยุโรปกลาง มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศเยอรมนีและสาธารณรัฐเช็ก ทางตะวันออกจรดสโลวาเกียและฮังการี ทางใต้จรดสโลวีเนียและอิตาลี และทางตะวันตกจรดสวิตเซอร์แลนด์และลิกเตนสไตน์ มีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีตัวแทนภายใต้หลักการของรัฐสภา


ประวัติศาสตร์
ก่อนปลายศตวรรษที่ 8 ดินแดนซึ่งเป็นประเทศออสเตรียในปัจจุบัน ได้มีชนชาติต่างๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ที่สำคัญได้แก่ ชนเผ่าเยอรมัน ซึ่งได้ข้ามแม่น้ำดานูบลงมาทางใต้ และชาวสลาฟซึ่งได้อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของออสเตรีย จนสิ้นสุดศตวรรษที่ 8 กษัตริย์ Charlemagne ได้ก่อตั้งเขตชายแดนระหว่างแม่น้ำอินส์ แรบ และดราวา เพื่อเป็นป้อมปราการป้องกันการรุกรานของชาวเอวาร์ และภายหลังจากที่ชาวโรมันได้อพยพออกไป นักบวชชาวไอริชและสก็อตจึงได้เข้ามาเผยแพร่คริสตศาสนาในดินแดนบริเวณเทือกเขาอัลไพน์แห่งนี้ ราชวงศ์บาเบินแบร์กของชาวรัฐบาวาเรียได้เข้าปกครองออสเตรียในปี ค.ศ. 976 ซึ่งยังมีประชาชนอยู่เพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ในศตวรรษต่อๆ มา ราชวงศ์บาเบินแบร์กได้ใช้ยุทธศาสตร์สร้างความแข็งแกร่งให้แก่อาณาจักร และขยายประเทศไปอย่างกว้างขวาง ภายหลังจากที่ราชวงศ์บาเบินแบร์ก ได้หมดอำนาจลงในกลางศตวรรษที่ 13 ราชวงศ์ฮับส์บูร์กได้เข้ามามีอำนาจในดินแดนนี้แทน และขยายอาณาเขตออกไปจนถึงแถบประเทศสเปน จนกระทั่ง ในปี 1522 ราชวงศ์ฮับส์บูร์กจึงได้แตกออกเป็นสายออสเตรีย และสายสเปน อย่างไรก็ตาม ราชวงศ์ Habsburg ยังคงขยายอาณาเขตต่อไป โดยในปี ค.ศ. 1526 ได้ผนวกดินแดนโบฮีเมียและฮังการี เข้าไว้ด้วย ทั้งนี้ ในช่วงศตวรรษที่ 16 และ 17 ออสเตรียต้องเผชิญหน้ากับอาณาจักรออตโตมัน แต่โดยที่ออสเตรียสามารถเอาชนะกองทัพของอาณาจักรออตโตมันได้ ออสเตรียจึงได้ครอบครองดินแดนเพิ่มขึ้น และกลายเป็นมหาอำนาจรายหนึ่งในยุโรป ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 18 จักรพรรดินีมาเรีย เทเรเซีย และโจเซฟที่สอง ได้ทำการปฏิรูป และวางรากฐานการปฏิรูปการบริหารจัดการของรัฐให้ทันสมัย แต่การปฏิวัติฝรั่งเศสและสงครามนโปเลียน ได้ทำให้สถานการณ์ทางการเมืองในขณะนั้นเปลี่ยนไป นอกจากนี้ หลังจากที่อิตาลีได้ก่อตั้งขึ้นเป็นประเทศ ราชวงศ์ฮับสบรูกส์ต้องต้องยินยอมต่อการเคลื่อนไหวของนักชาตินิยมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และในปี ค.ศ . 1867 จักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟ จึงได้ยอมตั้งราชวงศ์ร่วม (double monarchy) ออสเตรีย - ฮังการี ราชวงศ์ออสเตรีย - ฮังการี เป็นผู้เริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 1 ระหว่างปี ค.ศ. 1914-1918 อันมีสาเหตุเนื่องมากจากการลอบสังหารเจ้าชาย Francis-Ferdinand ซึ่งเป็นทายาทของราชวงศ์ออสเตรีย - ฮังการี โดยนักชาตินิยมชาวเซิร์บ โดยออสเตรียเป็นฝ่ายแพ้สงคราม และเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ออสเตรียจึงได้ประกาศตัวเป็นสาธารณรัฐ แต่ในขณะนั้น ออสเตรียมิได้มีอำนาจดังเช่นในอดีตแล้ว ในปี ค.ศ. 1938 ออสเตรียถูกกดดันจากเยอรมนีภายใต้การนำของฮิตเลอร์ และประสบกับภาวะการขาดเสถียรภาพภายในประเทศในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จนกระทั่ง ในปี ค.ศ. 1945 เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ประเทศพันธมิตรได้ช่วยออสเตรียให้ฟื้นตัวขึ้นสู่ความเป็นประเทศสาธารณรัฐอีกครั้ง แต่ออสเตรียยังคงถูกยึดครองโดยกองทัพฝรั่งเศส อังกฤษ สหภาพโซเวียต และสหรัฐอเมริกาจนถึงปี 1955 ซึ่งได้มีการลงนามในสนธิสัญญาประเทศออสเตรีย และในปีเดียวกัน รัฐสภาออสเตรียได้ออกกฎหมายให้ออสเตรียเป็นประเทศที่มีสถานะเป็นกลางอย่างถาวร รวมทั้งได้เข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติด้วย ออสเตรียได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1995 และได้เป็นประธานสภาสหภาพยุโรปเป็นครั้งแรกในครึ่งหลังของปี ค.ศ. 1995

การแบ่งเขตการปกครอง
ออสเตรียเป็นประเทศสหพันธรัฐที่ประกอบด้วย 9 รัฐ (states - Bundesländer) รัฐเหล่านี้แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น เขต (districts - Bezirke) และ นคร (cities - Statutarstädte) ซึ่งในเขตแต่ละแห่งยังแบ่งออกเป็นเทศบาล (municipalities- Gemeinden)
รัฐทั้ง 9 แห่งของออสเตรีย ได้แก่
1. รัฐบูร์เกนลันด์ (Burgenland) มีเมืองไอเซนชตัดท์ (Eisenstadt) เป็นเมืองหลวงของรัฐ
2. รัฐคารินเทีย หรือ แคร์นเทิน (Carinthia; Kärnten) มีเมืองคลาเกนฟูร์ท (Klagenfurt) เป็นเมืองหลวง
3. รัฐโลว์เออร์ออสเตรีย หรือ นีเดอเริสเทอร์ไรค์ (Lower Austria; Niederösterreich) มีเมืองซังคท์เพิลเทิน (St.Pölten) เป็นเมืองหลวง
4. รัฐอัปเปอร์ออสเตรีย หรือ โอเบอเริสเทอร์ไรค์ (Upper Austria; Oberösterreich) มีเมืองลินซ์ (Linz) เป็นเมืองหลวง
5. รัฐซาลซ์บูร์ก (Salzburg) มีเมืองซาลซ์บูร์ก เป็นเมืองหลวง
6. รัฐสติเรีย หรือ ชไตเออร์มาร์ค (Styria; Steiermark) มีเมืองกราซ (Graz) เป็นเมืองหลวง
7. รัฐทิโรล (Tirol) มีเมืองอินส์บรุค (Innsbruck) เป็นเมืองหลวง
8. รัฐโฟราร์ลแบร์ก (Vorarlberg) มีเมืองเบรเกนซ์ (Bregenz) เป็นเมืองหลวง
9. รัฐเวียนนา หรือ วีน (Vienna; Wien)

ประชากร
ประชากรหญิงออสเตรียมีอายุเฉลี่ย 82.1 ปี ส่วนประชากรชายออสเตรีย 76.4 ปี ในประเทศออสเตรียส่วนใหญ่ประชากรจะเป็นผู้สูงอายุ และเนื่องจากค่าครองชีพในประเทศออสเตรียอยู่ในอัตราสูงมาก จึงมีผลในการส่งผลให้อัตราการเกิดใหม่ของประชากรลดลงเป็นอย่างมาก ซึ่งอัตราการเกิดใหม่ของประชากรอยู่ที่ 0.45% ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่ต่ำมาก

วัฒนธรรม
ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิกร้อยละ 73.6 คริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ร้อยละ 4.7 มุสลิมร้อยละ 4.2 อื่นๆ ร้อย ละ 3.5 ไม่ระบุร้อยละ2 ไม่นับถือศาสนาร้อยละ 12

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ต้นกำเนิดของภาษาอังกฤษ

เราอาจประหลาดใจว่าภาษาเกิดขึ้นมาได้อย่างไร?
สำคัญมากที่เราต้องทราบ บังเอิญมีคำตอบง่าย ๆ คือเราไม่ทราบ มันเกิดมานานจนพูดได้ว่าไม่มีทางที่มนุษย์เราจะคาดคั้นเอาความลับนี้ออกมาจากอดีตที่เลือนลางได้ มนุษย์ในบรรพกาลมีความจำเป็นอย่างที่สุดที่จะสื่อข้อความกัน เตือนซึ่งกันและกันถึงภัยอันตราย แสดงออกซึ่งความต้องการและความอยากที่ทุกคนมีเหมือน ๆ กัน จะด้วยวิธีใดก็ตาม แต่ละกลุ่มชนก็ได้ตกลงว่าจะเรียกสิ่งโน้นสิ่งนี้ว่าอย่างไร แต่ด้วยวิธีใดนั้นเราก็ไม่ทราบ ทฤษฎีเกี่ยวกับกำเนิดของภาษานั้นมีมาก แต่ก็เป็นแค่การเดา ถึงแม้ว่าจะเป็นทฤษฎีที่น่าสนใจมากก็ตาม อย่างไรก็ตาม มีรากศัพท์อยู่กลุ่มหนึ่งที่เป็นข้อยกเว้นของกฎนี้ ซึ่งเราทราบว่าทำไมคำจึงมีความหมายเช่นนั้น คำจำพวกนี้เป็นคำเลียนเสียง ( onomatopoeic ) ซึ่งเป็นคำเลียนเสียงตามธรรมชาติและรวมกันเป็นกลุ่มที่น่าสนใจและมีเสน่ห์
เมื่อเราบอกว่าสิงโต roar ( คำราม ) นั่นคือเราใช้รากศัพท์แล้ว เราเห็นได้ชัด ๆ ว่า roar นั้นเป็นความพยายามที่จะเลียนเสียงร้องของสิงโต ในลักษณะเดียวกัน ผึ้ง buzz, งู hiss, นก chirp, ลำธาร babble เป็นต้น แต่รากศัพท์ที่เป็นคำเลียนเสียงเหล่านี้เป็นข้อยกเว้น ในกรณีอื่น ๆ เราไม่ทราบว่าทำไมเสียงต่าง ๆ ที่เปล่งออกมาเป็นลำดับนั้นจึงถูกเลือกให้มีความหมายเป็นอย่างหนึ่ง สิ่งที่ชาวฝรั่งเศสได้ทำต่อภาษาละติน ( และภาษาอังกฤษ ) ในปี ค.ศ. 1066 ได้เกิดเหตุการณ์ซึ่งพรหมลิขิตได้กำหนดไว้ เพื่อเปลี่ยนรูปโฉมของภาษาอังกฤษตลอดไปชั่วกาลนาน ขุนนางชั้นสูงสุดแห่งแคว้นนอร์มังดี ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส และเป็นที่รู้จักกันในนามว่า William the Conqueror ได้ข้ามช่องแคบและเอาชนะประเทศอังกฤษ พวกทหาร ขุนนาง และเจ้าหน้าที่ชาวฝรั่งเศสจากแคว้นนอร์มังดีและชนชาติรวมถึงผู้ที่ใช้ภาษาแองโกล-แซกซอน ก็อยู่เคียงบ่าเคียงไหล่กันในอังกฤษในสภาพคล้ายการพักรบที่อึดอัด ชาวแองโกล-แซกซอน ยึดมั่นอยู่กับภาษาของเขาอย่างเหนียวแน่น ประชากรก็พูดภาษาเดิมอย่างไม่ยอมเปลี่ยนแปลง
อย่างไรก็ตาม จากสังคมระดับสูง คำศัพท์ภาษาฝรั่งเศสจำนวนมากได้ไหลหลั่งเข้าไปในภาษาแองโกล-แซกซอน นี่อาจจะเป็นการซึมซาบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของภาษาต่างชาติที่ภาษาใดภาษาหนึ่งได้ประสบมาในสมัยปัจจุบัน เพื่อที่จะเห็นคุณค่าของความสำคัญทางภาษาของเหตุการณ์นี้ เราต้องคำนึงถึงบางสิ่งบางอย่างที่น่าสนใจมาก ใน ศตวรรษที่หนึ่งก่อนคริสต์กาล เมื่อโรมชนะฝรั่งเศส พวกฝรั่งเศสโบราณรวมทั้งพวก Franks ได้ยอมรับภาษาใหม่ พวกนี้ทิ้งภาษา Celt และภาษาเยอรมันโบราณของพวกเขาและรับเอาภาษาละตินเป็นภาษาพูด เนื่องจากภาษาละตินเป็นของใหม่สำรับพวกเขา ทำให้สะเพร่าเวลาพูด ออกเสียงเป็นเสียงเบาบ้าง ควบเสียงไปบ้าง และตัดคำให้สั้นลงบ้าง แทบจะไม่มีคำละตินคำไหนที่ไม่ถูกทำให้พิการโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง แต่ถึงแม้ว่าคำจะเปลี่ยนไป ปกติแล้วก็ยังสามารถเห็นรากละตินอยู่ รูปแบบหนึ่งที่ทำกันมากที่สุดในการออกเสียงเคล้ากันไปของคำละตินในภาษาฝรั่งเศสคือการตัดเสียงกระด้างที่อยู่กลางคำออกไป อาทิ คำภาษาฝรั่งเศสสำหรับคำว่า kingly ได้กลายเป็น royal ซึ่งเดิมทีมาจากคำละติน regal โดยมี ‘g’ ตรงกลางออกเสียงกระด้าง ดังนั้นเมื่อชาวแองโกล-แซกซอนเริ่มรับเอาคำภาษาฝรั่งเศสนั้น แท้จริงแล้วเขากำลังรับเอาคำละตินในรูปแบบของภาษาฝรั่งเศสต่างหาก ในปีศตวรรษแห่ง ค.ศ. ที่ 15 ได้มีการฟื้นฟูทางอักษรศาสตร์และศิลปวิทยา การฟื้นฟูความสนใจในวัฒนธรรมโบราณของกรีกและละตินนี้ได้นำเอาคำศัพท์โดยตรงจากภาษาละตินเป็นจำนวนมากเข้ามาในภาษาอังกฤษ ทีนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ก็คือ ภาษาอังกฤษได้ยืมคำภาษาฝรั่งเศสมาแล้ว และหลังจากนั้นในช่วงแห่งการฟื้นฟูทางอักษรศาสตร์และศิลปวิทยา และแทบจะต่อเนื่องกันมาโดยตลอด ภาษาอังกฤษก็ยืมคำศัพท์โดยตรงจากภาษาละตินอีก บ่อยครั้งที่ภาษาอังกฤษได้ยืมคำคำเดียวกันจากภาษาละตินซึ่งหลายศตวรรษก่อนก็ได้ยืมมาจากภาษาฝรั่งเศส ดังนั้น ในภาษาอังกฤษจึงมีคำมากมายที่เรียกว่า “doublets” ( คำคู่ ) ซึ่งหมายถึง คำสองคำที่ต่างกันแต่มาจากแหล่งเดียวกัน จงมาดูตัวอย่างของคำที่น่าสนใจเหล่านี้
จากภาษาละติน จากภาษาฝรั่งเศส Regal เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ Royal
เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ Secure ปลอดภัย Sure แน่นอน Fragile
อ่อนแอ Frail อ่อนแอ Decadence สลักหักพัง Decay สลักหักพัง Median (in the middle)
อยู่ตรงกลาง Mean (average) จำนวนเฉลี่ย Redemption การไถ่ถอน Ransom ค่าไถ่ Senior
ผู้มีอาวุโส sire , sir ท่าน Predatory สัตว์ที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร Prey เหยื่อ Tincture
ยาละลายแอลกอฮอล์ Taint ทำเปื้อน การเปลี่ยนแปลงอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจและพิสดารที่ภาษาฝรั่งเศสทำบ่อย ๆ กับคำละตินคือ การเปลี่ยนอักษร ‘c’ หรือ ‘k’ ที่มีเสียงกระด้างให้เป็น ‘ch’ โดยวิธีนี้เสียงของคำเปลี่ยนไปอย่างมากและมักทำให้ยากในการที่จะรู้ว่าเป็นคำอะไร บ่อยมากที่คำเหล่านี้ซึ่งภาษาฝรั่งเศสดัดแปลงมาจากภาษาละตินได้ถูกนำไปใช้ในภาษาอังกฤษ และคำเดียวกันนี้ในรูปแบบดั้งเดิมในภาษาละตินก็ถูกนำเข้ามาในภาษาอังกฤษเช่นกัน ปัจจุบันคำเหล่านี้มีอยู่ในภาษาอังกฤษในสองรูปแบบที่ต่างกันดังนี้ 1. คำละตินดั้งเดิมที่มีอักษร ‘c’ หรือ ‘k’ ที่ออกเสียงกระด้าง 2. คำที่อักษร ‘c’ เปลี่ยนเป็นรูปแบบ ‘ch’ ของภาษาฝรั่งเศส ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของคำสองคำที่มาจากรากเดียวกัน
จากภาษาละติน จากภาษาฝรั่งเศส Trickery การเล่นเล่ห์เหลี่ยม Treachery ทรยศ Cattle ปศุสัตว์ Chattle
ข้าวของส่วนตัวยกเว้นบ้านและที่ดิน Canal คลอง Channel ทางน้ำไหล Cadence ( the way things fall) Chance
โอกาส จังหวะในการพูดหรือดนตรี ( ลักษณะการ Chute ทางลาด ทางน้ำตก ตกของสิ่งของ) Parachute ร่มชูชีพ
Captain ( the head man ) หัวหน้า Chief หัวหน้า, achieve ได้รับความสำเร็จ Incision รอยแหวะ
Chisel สิ่ว Kirk โบสถ์ Church โบสถ์ รากและพยางค์ต่อท้ายคำ เมื่อเราเริ่มที่จะสามารถรู้จักรากของคำ
เราสามารถเพิ่มจำนวนคำศัพท์ได้อย่างมากมาย คำศัพท์ต่าง ๆ มากันเป็นกลุ่ม และเราสามารถรู้ได้ทันทีว่าเป็นรากรากเดียวที่เราเห็นอยู่ในหลาย ๆ คำที่แตกต่างกันแต่ก็มีความหมายสัมพันธ์กัน ภาษาอังกฤษได้ยืมคำมาจากหลายภาษาและเราจะรู้สึกในทันทีทันใดว่าเรารู้คำต่างภาษาหลายคำ ภาษาอื่น ๆ ก็ได้ยืมคำจากภาษาอังกฤษไปใช้เหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อเราได้ยินหรือเห็นภาษาต่างประเทศ ก็จะรู้สึกคุ้น ๆ กับหลาย ๆ คำ เป็นเรื่องสนุกที่รู้หลายภาษาและเดาความหมายของคำศัพท์ต่าง ๆ จากรากและจากการเปลี่ยนแปลงของรากนั้น ๆ เราอาจจะเติมหนึ่งหรือหลายพยางค์ไว้ข้างหน้าหรือหลังราก เมื่อทำเช่นนี้แล้ว คำก็ถูกเปลี่ยนไปในลักษณะที่สำคัญบางประการ โดยความหมายอาจเปลี่ยนไป เช่น คำ ‘press’ ซึ่งหมายความว่า ‘บีบ’ หรือ ‘เร่งเร้า’ อาจกลายเป็น Express แสดงความหมาย Oppress ทำให้เป็นภาระหนัก Impress ทำให้รู้สึก Suppress เหยียบให้แบน Repress ระงับ Compress อัดให้แน่น Depress ทำให้เศร้าโศก วิธีการสร้างคำใหม่ ภาษาเป็นสิ่งที่มีชีวิตและเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ภาษาไม่อยู่นิ่งกับที่ แต่ปรับเปลี่ยนเสมอ คำบางคำก็กลายเป็นคำเก่าพ้นสมัยและหลุดหายไปจากภาษา บางคำก็มีความหมายเปลี่ยนไป มีคำใหม่ ๆ เข้ามาเพิ่มอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีการประดิษฐ์หรือการค้นพบใหม่เกิดขึ้น ก็จะต้องมีการสร้างคำใหม่ บางครั้งคำใหม่นั้นก็เป็นแค่ชื่อของผู้ประดิษฐ์ เช่น คำ ‘sandwich’ ก็มีเรื่องเล่ากันมาว่าคำนี้มาจาก Earl of Sandwich เขาว่าท่านเป็นผู้คิดอาหารชนิดนี้ขึ้นมาเพื่อว่าท่านจะได้ไม่ต้องลุกจากโต๊ะการพนันเพื่อไปรับประทานอาหาร บางครั้งคำใหม่ก็เป็นคำที่ถูกยืมมาจากเทพนิยาย เช่น คำ vulcanize ( การทำยางโดยวิธีผสมกับกำมะถัน ) มาจากเทพเจ้าของพวกโรมัน เทพเจ้านี้ดูแลเรื่องไฟและงานหลอมโลหะนามว่า Vulcan บางครั้งคำใหม่ประกอบด้วยอักษรตัวแรกของวลีที่อธิบายความหมายของคำใหม่ เช่น radar มาจาก radio detecting and ranging ( การสืบหาและตรวจระยะด้วยคลื่นวิทยุ ) คำ jeep ใช้อักษรแรกของคำรวมกับการเลียนเสียงรถใช้งานทั่วไป ( General Purpose Car) ซึ่งพัฒนาขึ้นมาสำหรับกองทัพสหรัฐ ฯ ในสงครามโลกครั้งที่สอง และเป็นที่เชื่อกันทั่วไปว่าชื่อนี้ได้มาจากเสียงของตัวแสดงซึ่งเป็นสัตว์ตลกตัวน้อยๆ ชื่อ Eugene the Jeep คิดสร้างขึ้นมาโดยนักเขียนภาพการ์ตูนขบขันชื่อ E.C. Segar บางครั้งคำใหม่ก็มาจากรากคำภาษาต่างประเทศคำที่น่าสนใจชนิดนี้คำหนึ่งคือคำว่า Anesthesia ( ยาสลบ ) โดย Dr. William T.S. Morton เป็นผู้ใช้ยาสลบเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1846 ที่โรงพยาบาลกลางของรัฐแมสซาชูเสตตส์ นายแพทย์ก้มตัวลงคุยกับคนป่วยของเขาซึ่งเป็นชายอายุ 20 ปี ที่ป่วยด้วยโรคเนื้องอกที่ขากรรไกร แล้วถามเขาว่า “ คุณพร้อมสำหรับการผ่าตัดไหม? ” “ พร้อมครับ ” เสียงตอบอันแผ่วเบา ผู้ที่เฝ้าดูอยู่รอบ ๆ ต่างก็หัวเราะด้วยความยินดี การผ่าตัดได้กระทำเรียบร้อยไปแล้ว นายแพทย์ Morton ได้ค้นพบว่า ธาตุอีเทอร์ทำให้ไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด และเขาได้ให้ผู้ป่วยสูดหายใจธาตุอีเทอร์เข้าไปก่อนหน้าการผ่าตัด เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์มนุษย์ที่มีดได้ตัดเนื้อสด ๆ ที่ยังมีชีวิตและไม่มีความเจ็บปวดได้ เป็นโอกาสอันสำคัญโอกาสหนึ่งในประวัติศาสตร์ โลกซึ่งเบื่อหน่ายต่อความเจ็บปวดได้เห็นชัยชนะในทันท และรู้สึกปีติยินดี Oliver Wendell Holmes, Sr. นักเขียนและนายแพทย์ชาวอเมริกันได้ใช้โอกาสเพิ่มคำสองคำให้กับภาษาอังกฤษ เขาใช้พยางค์ “an” ซึ่งแปลว่า ปราศจาก ใส่ลงในหน้ารากคำกรีก “aisthesis” ซึ่งแปลว่า ความรู้สึก หรือ ความรู้สึกทางประสาท และสร้างคำว่า anesthesia ขึ้นมาซึ่งแปลว่า การสูญเสียความรู้สึกเจ็บ และคำ anesthetic ซึ่งแปลว่า ยาที่ก่อให้เกิดการสูญเสียความรู้สึกเจ็บ anesthetist หรือ anesthesiologist คือ นายแพทย์ผู้ชำนาญการใช้ยาสลบ คำว่า esthete ซึ่งหมายความถึงบุคคลที่มีความรู้สึกสำหรับศิลปะและความงามมากเกินไป ก็เกี่ยวกับรากศัพท์ในภาษากรีก ‘esthetic’ ซึ่งหมายถึง ‘อย่างงดงาม’

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2551

ทำไมคนไทยถึงเรียกประเทศ Japan ว่า"ญี่ปุ่น"

อย่างคำว่า"ฝรั่งเศส" (FRANCE) ฝา F - หรั่ง RAN - เศส CE(S) ที่ไม่ได้เรียกตามสำเนียงของต้นฉบับว่า ฟร๊องซ์ ก็ยังพอเข้าใจว่าคนสมัยโบราณอาจจะยังไม่แม่นในเรื่องของภาษาต่างชาตื (ซึ่งเข้าใจว่าที่คนไทยเรียกชาวต่างชาติผิวขาวตาน้ำข้าวว่า"ฝรั่ง"น่าจะมีที่มาจากตรงนี้นี่เอง)ฝรั่งเศส มาจากคำว่า francais อ่านว่า ฟรังเซ หมายถึง คนที่มาจากประเทศ france หรือเกี่ยวกับประเทศ france เป็นคำคุณศัพท์ภาษาฝรั่งเศสคล้ายๆ คำว่า american หรือ italian นั่นแหละครับ สาเหตุที่เราไม่เรียก france ตามอังกฤษ เพราะชาวฝรั่งเศสเข้ามาในประเทศไทยก่อนอังกฤษ คนไทยจึงเรียกตามคำศัพท์ฝรั่งเศสครับ
nippon = นิปปงเง็ด = นิปปุง = ยิปปุ่น = ญี่ปุ่น
จีนเรียกพวกญี่ปุ่นว่ายื่อเปิ่น คนไทยฟังไม่ชัดเลยมาเป็นญี่ปุ่นญี่ปุ่นเรียกตัวเองว่านิฮอง นิปปอง ยังไงก็ไม่เพี้ยนมาเป็นญี่ปุ่น
แล้วทำไมฝรั่งมันถึงเรียก นิปปง,นิฮอน,นิปปอน ว่า แจแปน (Japan)
อ้างอิงจากตอนหนึ่งหนังสือ "เล่าเรื่องเมืองญี่ปุนปุ่น""... ท่านผู้รู้ท่านว่า สำเนียงชาวจีนแต้จิ๋วเรียกญี่ปุ่นว่า ยิดปุ๊น แปลว่า มีต้นกำเนิดมาจากพระอาทิตย์ฟังตามนี้จะเห็นว่าไทยเราเรียกญี่ปุ่นตากเสียงภาษาจีนแต้จิ๋วนี่เอง แต่เพื้ยนมาจากยิดปุ๊นเป็นญี่ปุ่น..."และจากที่เรียนมาคนญี่ปุ่นเรียกประเทศตัวเอง ว่า "นิฮอน" เขียนเป็นตัวอักษรได้ว่า 日本日 = พระอาทิตย์本 = ต้นกำเนิด ที่ได้ยินคนญี่ปุ่นเรีนยกตัวเองว่า "นิปปอน" นั้นเพื่อเป็นการลงเสียงให้หนักแน่นยิ่งขึ้นอาจใช้เพื่อการเชียร์กีฬาเป็นต้น

วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551

ภาษาอังกฤษ:เท่าที่เป็นมา เป็นอยู่ และเป็นไป


ในสมัยที่เชคสเปียร์[Shakespears] ยังมีชีวิตอยู่นั้น ในประเทศอังกฤษเอง มีคนที่พูดภาษาอังกฤษกันแค่ประมาณ 5 ล้านกว่าคนเท่านั้น ปัจจุบัน หลังจากผ่านมาได้ราว 400 กว่าปี ปรากฏว่ามีคนพูดภาษาอังกฤษกันทั่วโลกกว่า 700 ล้านคน ในจำนวนนี้ มีประมาณ 300 ล้านคน ที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ [Mother tongue] ซึ่งคนเหล่านี้ ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ แอฟริกาใต้ แคนาดา ไอร์แลนด์ และนิวซีแลนด์ ยังมีอีกหลายประเทศที่ภาษาอังกฤษมีสถานะพิเศษ นั่นคือใช้กันอย่างแพร่หลายจนกลายเป็นทางการ ในประเทศเหล่านี้คือ อินเดีย บาฮามา กานา ไนจีเรีย และฟิลิปปินส์
กล่าวได้ว่า ภาษาอังกฤษ คือภาษาโลกอย่างแท้จริง เป็นภาษาที่ใช้ในด้านการค้าระหว่างประเทศ การทูต และการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ข้อมูลต่างๆไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการไปรษณีย์ หรือคอมพิวเตอร์ ส่วนมากเขียนด้วยภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ ภาษาอังกฤษ ยังเป็นภาษาที่ใช้สำหรับการควบคุมการจราจรทางอากาศซึ่งเป็นสากลอีกด้วย
พัฒนาการของภาษาอังกฤษ[Development of English]
เมื่อจูเลียส ซีซาร์ [Julius Caesar] บุกเกาะอังกฤษ ในปี 55 ก่อนคริสตกาล หรือราวๆ2058 ปีมาแล้ว เขาได้พบว่า ได้มีชนชาวเซลติค [Celtic population] ได้อาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้มาหลายร้อยปีแล้ว ซึ่งพวกเซลติคนี้ คือบรรพบุรุษของชาวไอริช [Irish] สกอตติช[Scotish] และเวลส์[Welsh] ในปัจจุบัน ต่อมาพวกโรมัน ได้เข้ารุกรานพวกเซลท์(หรือเซลติค) และได้ครอบครองเกาะอังกฤษจากปี ค.ศ. 43-410 หรือเป็นเวลาร่วมสี่ร้อยกว่าปี ภาษาของพวกโรมัน คือภาษาลาติน [Latin] แทบไม่มีผลกระทบต่อภาษาของพวกเซลติคเลย และทั้งสองภาษาคือ ลาติน และเซลติค ก็แทบไม่มีผลกระทบต่อภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้สืบต่อจากภาษานี้ในกาลต่อมา ชื่อของสถานที่ที่เป็นภาษาของพวกโรมันและเซลติค ก็มีหลงเหลืออยู่น้อยมาก ซึ่งต่อมาก็ได้ถูกดูดกลืนเป็นภาษาอังกฤษไป ยกตัวอย่างอิทธิพลของภาษาลาติน และเซลติคที่ยังพอหลงเหลือให้เห็น เช่น ‘castra’ เป็นคำลาติน หมายถึง “ค่ายพัก” หรือ “การตั้งถิ่นฐาน” ปรากฏในชื่อเมืองของอังกฤษหลายเมืองเช่น Manchester, Dorchester และ Lancaster เป็นต้น ส่วนคำว่า crag หมายถึง “ชัน” หรือ “ขรุขระ” และคำว่า combe ซึ่งหมายถึง “หุบเขา” ทั้งสองนี้เป็นคำเซลติค

บรรพบุรุษที่เป็นต้นกำเนิดภาษาอังกฤษในปัจจุบัน จริงๆนั้น เข้ามาในเกาะอังกฤษราวปี ค.ศ.400 เศษๆ ภายหลังที่พวกโรมันได้จากไปแล้ว ชนเผ่า Germanic สามกลุ่มคือ Angles, Saxon, และ Jutes ได้อพยพมาถึงอังกฤษ และได้ปราบหรือไม่ก็กลืนพวก Celtic เข้าพวก ดังนั้น ชื่อดินแดนแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า England ตามชื่อพวก Angles ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ที่สุด England แปลว่า “Land of the Angles” หรือ “เทวรัฐ” คือดินแดนของเทวะ ดังนั้นภาษาของพวกที่มารุกราน จึงเรียกว่า English
จากนั้นภาษาอังกฤษ ก็ค่อยๆหยั่งรากมั่นคง ในประเทศอังกฤษ โดยขณะเดียวกันก็ได้ยอมรับเอาอิทธิพลของพวกที่รุกรานที่มาภายหลังอีกหลายพวก ได้แก่พวก สแกนดิเนเวียนส์[Scandinavians] ซึ่งตกประมาณปี ค.ศ. 750 และพวก Norman French ในปี 1066 จริงๆแล้วภาษาอังกฤษ ได้กลายเป็นภาษาที่ดูดซับเอาภาษาอื่นๆไว้ [absorbing language] นั่นเพราะว่า ได้รวบรวม รวมทั้งยืมเอาคำต่างๆจากภาษาและวัฒนธรรมอื่นๆเข้าไว้ในตัวมากจนกระทั่งปัจจุบันกลายเป็นภาษาที่มีคำมากที่สุดในโลก เกือบ 500,000 คำเลยทีเดียว
ประวัติของภาษาอังกฤษนั้นแบ่งออกเป็นสามยุคคือ อังกฤษยุคเก่า[Old English 450-1100] อังกฤษยุคกลาง[Middle English 1100-1500] และอังกฤษยุคใหม่ [Modern English 1500-ปัจจุบัน]

ภาษาอังกฤษยุคเก่า[Old English]
ภาษาของพวกชนเผ่า Germanic ที่เรียกว่า Old English หรือ Angle-Saxon นั้นถือได้ว่าเป็นรากฐานของภาษาอังกฤษยุคใหม่ มีความเกี่ยวพันกับบรรพบุรุษของพวกที่พูดภาษาเยอรมัน ภาษาดัช และภาษาสแกนดิเนเวียน ในยุคปัจจุบัน ตัวอย่างของภาษาอังกฤษยุคเก่าเก็บรักษาเอาไว้ในต้นฉบับหนังสือหลายเล่มที่มีอายุนับย้อนไปถึงยุค ค.ศ.600 แต่หลักฐานพวกนี้ ก็เป็นเพียงบันทึกข้อเขียนภาษาทางวรรณคดี ซึ่งไม่ใช่ภาษาที่คนทั่วๆไปพูดกันในยุคนั้น บทกวียุคเก่าที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เห็นจะได้แก่มหากาพย์ Beowulf ซึ่งเป็นเรื่องราวการต่อสู้ของวีรบุรุษ คือกษัตริย์แห่งเดนมาร์ค [Denmark] ซึ่งได้ทำการต่อสู้กับมังกรและปีศาจชื่อ Grendel จากตัวอย่างบางตอนของภาษาอังกฤษยุคเก่านี้ ต้องทำการแปลอีกทีหนึ่ง ผู้อ่านสมัยปัจจุบัน ถึงจะอ่านออก
ภาษาอังกฤษยุคเก่านั้น แตกต่างกันอย่างลิบลับกับภาษาอังกฤษที่เราใช้ในปัจจุบัน คำนาม และคำคุณศัพท์ เวลาใช้ต้องผันพยัญชนะท้ายคำ[inflection] นั่นก็คือมีเสียงท้ายคำแตกต่างกันนั่นเอง ทั้งนี้ก็เพื่อให้เห็นว่า คำนั้นๆทำหน้าที่อะไรในประโยค ซึ่งเหมือนกับภาษาบาลีและสันสกฤต หรือแม้แต่คำ “the” ซึ่งในยุคนี้เวลาใช้ล้วนคงที่เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของประโยค แต่ในอังกฤษยุคเก่า the มีรูปแตกต่างกันหลายแบบ ทั้งนี้ก็เพื่อระบุว่า คำที่ใช้กับ the นั้นเป็นเพศชาย เพศหญิง เป็นเอกพจน์ หรือเป็นพหุพจน์ เป็นต้น
พัฒนาการของภาษาอังกฤษยุคเก่านั้น มีเหตุการณ์สำคัญสองอย่างเป็นตัวเสริม ได้แก่ การแผ่ขยายของศาสนาคริสต์ ในประเทศอังกฤษ ระหว่างยุค ค.ศ. 500 และยุค ค.ศ. 600 ภาษาอังกฤษในยุคนั้นได้รับเอาคำภาษาลาติน เข้าไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งภาษาลาตินเอง ก็คือภาษาของคริสตจักร[Church] เช่นคำว่า candle, chalk, dish, master, monk และ psalm กระนั้นก็ตาม ก็ยังมีคำอังกฤษยุคเก่าแท้ๆ หลายคำที่นำมาใช้เพื่ออธิบายแนวคิดทางศาสนาคริสต์เช่น god, heaven และ hell อีกเหตุการณ์หนึ่งคือ การรุกรานอย่างเป็นระลอกของพวก Scandinavian ในช่วงยุค ค.ศ. 800 และ 900 มีคำเกิดขึ้นหลายคำ เช่น skin, skirt, sky นอกจากนี้ มีคำสรรพนามสำคัญเกิดเพิ่มเข้ามาใหม่ คือ they และ she คำว่า they นั้นมาแทนที่คำเดิมคือ hie ส่วน she มาแทน heo สรรพนามสองคำใหม่นี้ ง่ายกว่า และแยกจากกันอย่างชัดเจนกว่าของเดิมมาก สังเกตดูก็แล้วกัน
he, heo, hie กับ he, she, they

ภาษาอังกฤษยุคกลาง[Middle English]
ในค.ศ. 1600 กษัตริย์ William แห่ง Normandy จากฝรั่งเศสตอนเหนือได้บุกยืดครองเกาะอังกฤษ โดยตีกองทัพอังกฤษแตกที่สนามรบเมือง Hastings หรือที่เรียกกันว่า “ศึกแฮสติงส์” วิลเลี่ยม และพวกได้ปกครองอังกฤษ โดยขณะเดียวกัน ก็ได้นำเอาภาษาของตนเข้ามาใช้ด้วย นั่นก็คือภาษาฝรั่งเศสประจำถิ่นNorman [Norman dialect of French] และก็ได้ใช้ภาษานี้เป็นภาษาประจำราชสำนัก [the language of the royal court] ภาษา Norman French หรือ ถ้าจะเรียกให้ถูกก็คือ Anglo-Norman นี้ ได้เป็นภาษาราชการของผู้ปกครองอังกฤษในยุคนั้นเป็นเวลาถึง 300 ปี แต่ถึงอย่างไร ก็ไม่อาจเข้ามาแทนที่ภาษาอังกฤษซึ่งคนส่วนมากยังพูดจาสื่อสารกันอยู่โดยมากได้ ในระยะเริ่มแรก อิทธิพลของภาษาอังกฤษยังมีน้อย จำกัดอยู่แค่คำไม่กี่คำ เช่น castle และ prison แต่พอถึงยุค ค.ศ. 1100 ปรากฏมีการนำคำฝรั่งเศสมาใช้ในราชสำนักในอัตราที่มากขึ้น คำ “ยืม” เหล่านี้ ปรากฎใช้กันมากในแถบที่อิทธิพลของฝรั่งเศสมีความแข็งแกร่ง ศัพท์ทางการปกครอง และกฎหมาย เช่น prime, reign, court ศัพท์ทางทหาร เช่น army, soldier, leiutenant, ศัพท์ทางศิลปะ เช่น sculpture, romance, tragedy, ศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ เช่น surgeon, anatomy
การมีคำฝรั่งเศสเพิ่มเข้ามาในภาษาอังกฤษ ทำให้ผู้พูดภาษาอังกฤษมีความสามารถแสดง “ความต่าง” ของคำได้ เช่น คำฝรั่งเศสคือ beef, veal, venison, mutton และ pork หมายถึงเนื้อที่อยู่บนโต๊ะแล้ว ส่วนคำอังกฤษคือ cow, calf, deer, sheep, และ pig หมายถึงสัตว์ที่อยู่บนกีบเท้า[hoof]
เมื่ออังกฤษสามารถปลดแอกตนเองเป็นอิสระจาก Normandy ใน ค.ศ. 1204 ภาษา Anglo-Norman ก็ถูกตัดขาด และเริ่มเสื่อมหายไป ภาษาอังกฤษก็กลับมาเป็นภาษาทางการปกครองและวัฒนธรรมตามเดิม และแน่นอนเป็นภาษาพูดของคนทั่วไป[common people] ถึงยุค ค.ศ.1300 มีการใช้ภาษาอังกฤษกันอย่างดาดดื่นทั้งในราชสำนัก และท้องถิ่นอื่นๆทั่วประเทศ แม้ว่าอิทธิพลด้านคำศัพท์ฝรั่งเศสจะยังคงมีติดอยู่ในภาษาอังกฤษตลอดไปก็ตาม
นอกเหนือไปจากการได้รับคำฝรั่งเศสเข้ามาปนแล้ว ภาษาอังกฤษในยุคนี้ ยังพบกับความเปลี่ยนแปลงอีกอย่างหนึ่งคือ ไม่มีการผันคำคุณศัพท์เพื่อให้สอดคล้องกับคำนามอีกต่อไป และคำนามก็เหลือแค่เอกพจน์ และพหุพจน์เท่านั้น เช่นที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

ภาษาอังกฤษยุคใหม่[Modern English]
ภาษาอังกฤษยุคใหม่นั้น กล่าวกันว่า เริ่มต้นที่ประมาณค.ศ.1500 เป็นต้นมา หลังจากมีการนำระบบการพิมพ์หนังสือเข้าไปเผยแพร่ในประเทศอังกฤษไม่นาน ภาษาอังกฤษยุคใหม่ ในตอนแรกๆนั้น แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
ภาษาอังกฤษยุคใหม่ต่างจากยุคกลางตรงการออกเสียง ตลอดระยะเวลากว่า 100 ปี ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายในด้านสระ[vowels] นอกจากนี้ ภาษาอังกฤษยุคใหม่ ก็ยังไวยากรณ์ที่แตกต่างด้วย ซึ่งก็คล้ายๆเป็นการสืบต่อแนวโน้มจากยุคกลางที่เน้นไปทางการทำให้ง่ายขึ้นในด้านการผันคำ แม้ว่าในความเป็นจริง สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือการมีกฎเกณฑ์ด้าน วากยสัมพันธ์[syntax] และการวางลำดับคำ[word order] ที่สลับซับซ้อนมากขึ้นก็ตาม
การประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ มีส่วนช่วยทำให้เกิดภาษาเขียน “ที่เป็นมาตรฐาน” [standardize written English] นั่นคือการยอมรับการสะกดคำที่สากลมากขึ้น รวมถึงการใช้คำนั้นๆด้วย นอกจากนี้ การพิมพ์ตำราไวยากรณ์ และพจนานุกรมที่เป็นรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ ในยุค ค.ศ.1700 ก็มีส่วนทำให้เกิดภาษาอังกฤษที่เป็นมาตรฐานด้วย
กระนั้นก็ตาม ก็ยังใช้เวลากว่า 200 ปีจึงสามารถทำให้การสะกดคำภาษาอังกฤษที่มีอยู่อย่างหลากหลายหายไป จนเหลือเท่าที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน แต่ในด้านการใช้ภาษาอังกฤษ ก็ยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่ไม่รู้จบ

การเติบโตของภาษาอังกฤษยุคใหม่
ประเทศอังกฤษเริ่มกลายเป็นมหาอำนาจหนึ่งของโลก ในยุค ค.ศ.1600 โดยการล่าเมืองขึ้นในแถบ แอฟริกา เอเชีย แปซิฟิก และอเมริกาเหนือ เมื่อจักรวรรดิอังกฤษแผ่ขยายไป ภาษาอังกฤษก็แผ่ตามไปด้วย ในทางกลับกัน คำต่างๆที่เป็นภาษาของผู้คนที่อยู่ในประเทศเมืองขึ้นก็ทำให้เกิดคำใหม่ๆเข้ามาในภาษาอังกฤษด้วย เช่นภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน มีหลายคำที่มาจากภาษาของพวกอเมริกันอินเดียน โดยเฉพาะคำที่เป็นชื่อต้นไม้ใบหญ้าของคนพื้นเมือง และชื่อสัตว์ที่พวกเจ้าอาณานิคมอังกฤษไม่คุ้นเคย เช่นคำว่า moose, skunk, squash และ woodchuck เป็นต้น และรวมถึงคำที่เป็นชื่อสถานที่ของชาวอเมริกันอินเดียนทั้งหลายด้วย
เมื่อการใช้ภาษาอังกฤษขยายกว้างออกไป ก็เกิดมีลักษณะเด่นที่หลากหลายตามไปด้วย และแต่ละประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ ก็ถึงกับมีมาตรฐานเป็นของตนเอง ยกตัวอย่างเช่นในสหรัฐอเมริกา คำศัพท์ การใช้ และการสะกด แตกต่างจากในประเทศอังกฤษ ชาวอเมริกันจะเรียก lift ว่า elevator, flat ว่า apartment, และ chips ว่า fries ในยุค 1920 ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน เกิดความนิยมแพร่หลายในประเทศอังกฤษเพราะภาพยนตร์จาก Hollywood ซึ่งทำให้คนอังกฤษบางคนถึงกับกลุ้มใจอย่างหนักเพราะ กลัวว่าภาษาของตนจะวิบัติ[corrupted] ในยุค1980 เกิดการแพร่สะพัดของสำนวนทักทายแบบออสเตรเลียน คือ G’day ซึ่งมาพร้อมกับภาพยนตร์และโทรทัศน์ ในปัจจุบัน นักปราชญ์ทางภาษาอังกฤษกำลังสนใจพัฒนาการใหม่ๆที่หลากหลายของภาษาอังกฤษในแถบแอฟริกา เอเชีย และ เวสต์ อินดีส [West Indies]
ภาษาอังกฤษแบบอเมริกันมีพัฒนาการส่วนหนึ่งมาจากอิทธิพลของคนที่มาจากหลากหลายเชื้อชาติที่มารวมกันอยู่เป็นพลเมืองของอเมริกา ยกตัวอย่างคำว่า rodeo มาจากภาษาสเปน คำว่า kindergarten มาจากภาษาเยอรมัน pizza มาจากภาษาอิตาเลียน klutz มาจากภาษา Yiddish นอกจากนี้ ภาษาอังกฤษของคนดำ [Black English]ซึ่งแสดงถึงอิทธิพลจากแอฟริกัน ตะวันตก[West African] ก็มีส่วนทำให้เกิดความใหม่ๆหลายคำ บางคำเราไม่รู้เลยว่ามีที่มาจากไหน เช่นคำว่า Jazz คำหลายคำ เช่น soul มีความเพิ่มเติมจากความหมายเดิมที่มีอยู่แล้ว เช่น soul food = African food เป็นต้น
ปัจจุบัน ภาษาอังกฤษก็ยังคงพัฒนาและเติบโตต่อไปเช่นกับภาษาที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งหลาย[living languages] คำเก่าๆบางคำเลิกใช้ แล้วมีคำใหม่ๆเข้ามาแทนที่เทคโนโลยีที่พัฒนาเร็วมาก ก็สะท้อนออกมาในรูปของภาษา และศัพท์เฉพาะบางคำถึงกับกลายมาเป็นคำธรรมสามัญเป็นแล้วก็มี ตอนนี้ถ้าพูดถึง lasers, software, และ meltdowns มีน้อยคนที่ไม่รู้จัก คำที่มาจารกพวกแสลง [slang] แฟชั่น และกีฬาก็กลายมาเป็นคำใหม่ๆเยอะเหมือนกัน และผู้ที่พูดภาษาอังกฤษเองก็พัฒนาปรับปรุงภาษาของตนเองอยู่ตลอดเวลาด้วย
เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีความพยายามและผลักดันให้เลิกใช้คำที่มีความหมายไปในทางเหยียดเพศ[sexism] โดยเรียกร้องให้มีการใช้คำที่มีความหมายครอบคลุมทั้งเพศชายและหญิงแทน เช่นให้ใช้คำว่า firefighter แทนfireman ขณะที่ภาษาอังกฤษจัดอยู่ในฐานะภาษาที่ถูกยืมก็เป็นภาษาที่ให้ยืมด้วยเช่นกัน ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน และญี่ปุ่น ต่างยืมคำภาษาอังกฤษมาใช้กันอย่างเสรี จนครั้งหนึ่งรัฐบาลฝรั่งเศสถึงกับออกกฎหมายเอาผิดกับการใช้ภาษาอังกฤษปนกับภาษาฝรั่งเศส
แน่นอนว่า ภาษาอังกฤษคงจะยังคงเป็นภาษาที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกต่อไปอีกนาน ขณะนี้ยังไม่ปรากฏว่ามีภาษาไหนจะแข่งด้วยได้ อย่างไรก็ดี ไม่มีภาษาไหนที่จะเป็นนิรันดร์ ภาษากรีก ลาติน และฝรั่งเศส ล้วนต่างเคยเป็นภาษาที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดมาแล้ว และดังนั้น จึงไม่มีเหตุผลที่จะไปทึกทักว่า สภาพเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบันของภาษาอังกฤษจะเป็นอยู่เช่นนี้ตลอดไป