วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550

Re-design สถานทูตฝรั่งเศส

โครงการอาคารฝ่ายวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และความร่วมมือสถานทูตฝรั่งเศส ถนนสาทรใต้ ออกแบบโดยได้รับอิทธิพลของลัทธิโมเดิร์นนิสซึ่ม ผสานกับการจัดองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมเขตร้อน
หากใครได้ไปที่สถานทูตฝรั่งเศส จะเห็นรูปโฉมใหม่ของอาคารที่ทำการที่ถูกปรับปรุง จนดูโล่งโปร่งให้ความรู้สึกสบายๆ ขณะเดียวกันก็มีความทันสมัยแฝงเทคโนโลยีอยู่ในตัว และการสอดคล้องกับการใช้สอย ความเรียบง่ายลงตัวนี้เอง จึงเป็นที่มาของรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นเหรียญทอง ประจำปี 2547 โดยการพิจารณาของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมกันกับที่ อัชชพล ดุสิตนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สถาปนิกอัชชพล ดุสิตนานนท์ และคณะ จำกัด ผู้ออกแบบอาคารดังกล่าว ได้รับรางวัลสถาปนิกดีเด่นด้านวิชาชีพ “เราเอาปัญหามาเป็นโจทย์ อาคารนี้สร้างเมื่อ 30 ปีก่อน เป็นการรีโนเวตอาคารเก่า ที่ออกแบบโดย อ.กฤษฎา อรุณวงษ์ เป็นกลุ่มบุกเบิกสถาปัตยกรรมโมเดิร์นนิสซึ่ม ซึ่งเป็นแนวคิดจากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อิทธิพลจาก Bauhaus และแนว Mat Building ของ Le Corbusier ตอนนั้นทั่วโลกเศรษฐกิจตกต่ำ อาคารต้องประหยัดงบ สมัยนั้นใครออกแบบตึกได้เตี้ยเท่าไรก็เก่งเท่านั้น หลังคาต้องแบนที่สุด พื้นถึงฝ้าต้องเตี้ยๆ ชั้นล่างต้องแตะดินให้มากที่สุด” สถาปนิกอัชชพล ซึ่งมีอีกบทบาทเป็นอาจารย์พิเศษคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มาตั้งแต่ปี 2527 เล่าถึงแนวคิดการออกแบบ แต่เมื่อเวลาผ่านไป หน่วยงานเจ้าของอาคารต้องการพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และสถานทูตเองมีเอกสิทธิ์ที่สามารถต่อเติมได้ตามสบายโดยไม่ต้องขออนุญาต





กระจกเป็นวัสดุสำคัญถูกนำเข้ามาใช้ในหลายจุด เพื่อการจัดการเรื่องแสงและสเปซ

สถาปัตยกรรมโมเดิร์นนิสซึ่มจึงเริ่มกลายสภาพคล้ายสลัม รวมทั้งหลังคาที่ลาดเอียงไม่พอ วัสดุหมดอายุ หลังคารั่วจนทำงานกันไม่ได้ กลายเป็นสลัมสมบูรณ์แบบ ทีมสถาปนิกจึงเริ่มเก็บข้อมูล นำปัญหามาเป็นโจทย์ในการออกแบบ เช่น ปัญหาฝนรั่วก็ต้องหาว่าวัสดุอะไรที่เหมาะสมในการคลุมหลังคา พื้นผนัง ที่ปิดทึบเกินไป จะทำอย่างไรให้แสงธรรมชาติเข้า ซึ่งเป็นแสงที่เรียกว่า Indirect light เพื่อให้บรรยากาศการทำงานดีขึ้น ปัญหาสภาพอาคารที่ดูซอมซ่อ ทำให้ดูเป็นธรรมชาติที่สุด โดยการปูพื้นไม้ชิ้นเล็กทั้งหมด ให้ความรู้สึกนุ่มขึ้น เย็นขึ้น แล้วเปิดใช้แสง สี ภายในที่ดูสว่าง รวมทั้งพื้นที่ภายนอกอาคาร การจัดภูมิทัศน์ใหม่ทั้งหมด พื้นที่ใช้สอยโดยรวมเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึง ซึ่งแต่เดิมพื้นที่แห่งนี้เป็นที่รวมของ 4 หน่วยงานด้วยกัน คือ สถานทูตฝรั่งเศสฝ่ายวัฒนธรรม สถานกงสุล สมาคมฝรั่งเศส และโรงเรียนฝรั่งเศส สถาปนิกต้องออกแบบโดยคาดการณ์การใช้งานในอนาคตด้วย “บางคนพอเข้าไปรีโนเวตก็พยายามเอาสไตล์ของตัวเองไปครอบของเก่า...ไม่ถูก.. เราควรเคารพคนออกแบบเก่าให้มากที่สุด ปรับเปลี่ยนบางอย่างให้เหมาะสมกับการใช้ในปัจจุบัน และจุดไหนที่เป็นจุดอ่อนก็แก้ให้มันดีขึ้น คือเป็นอาคารที่มีคอร์ริดอร์ แบบเอาต์ดอร์ แต่ฝนสาด เราก็ต้องยื่นชายคาออกไป พอยื่นชายคาก็ต้องมีค้ำยัน ทุกอย่างเกิดขึ้นจากความจำเป็นทั้งหมด และเราก็ใช้บริบทของโมเดิร์นสไตล์เข้าไปสวม เพื่อให้งานนั้นทรงคุณค่าของผู้ออกแบบเดิมไว้ อันนี้คือเนื้อหาสำคัญ” วิธีการทำงานของอาจารย์อัชชพล ใช้วิธีการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ด้วยการค้นคว้าจากเอกสาร การพูดคุยสัมภาษณ์ผู้ใช้อาคาร ไปจนถึงการเฝ้าสังเกตการณ์ ขณะเดียวกันสถาปนิกต้องออกแบบพื้นที่ใช้สอยสอดคล้องกับการใช้งาน โดยคาดการณ์ไปถึงการใช้งานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แม้การทำนายนี้จะมีโอกาสผิดพลาด
ฉะนั้นจึงต้องสอบถามผู้รู้หรือคนต่างๆ เพื่อให้เกิดโอกาสผิดพลาดน้อยที่สุด “แม้กระทั่งที่ดิน เราต้องไปนั่งเผ้าดูพฤติกรรมของที่ดินผืนนั้นเป็นวันๆ ก่อนจะออกแบบ เช่น มีคนเดินผ่านไหม รถผ่านมากตอนกี่โมง ทิศทางการขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์ ทิศทางลม เสียงรบกวน ฝุ่นละออง แสงเงาที่ทอดตกจากอาคารข้างเคียงที่มีผลกระทบต่อพื้นที่ จุดที่คนเดินผ่าน เพราะดูแค่กระดาษเราจะไม่รู้จริง บางทีต้องไปคุยกับเจ้าหน้าที่ว่าในอนาคตจะมีโครงการอะไรตัดผ่านหรือเปล่า เช่น อาจมีรถไฟฟ้าตัดผ่าน จากที่เดิมจะหันหน้าออกถนน ก็ลองเปลี่ยนเป็นหันหลังออกถนน แล้วไปเปิดคอร์ตเอาข้างใน” อาจารย์อัชชพลย้ำว่า “เราต้องกล้านำเสนอ ถ้าสมมติว่าเจ้าของต้องการอะไรบอกมา แล้วสถาปนิกไปเขียนให้ตามนั้น คุณจะไม่ใชสถาปนิกเลย คุณจะเป็นดราฟต์แมนทันที” ในฐานะที่อาจารย์นอกจากจะสอนวิชาโปรเจกต์ดีไซน์ แล้วยังสอนวิชาโปรเฟสชั่นแนลเพรคทิซด้วย เมื่อถูกถามถึงคุณสมบัติของสถาปนิกที่ดี “ สำคัญต้องตั้งใจทำงาน รักในสิ่งที่ทำ ซื่อตรงกับงานที่ทำ ถึงแม้จะไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้า เพราะเราไม่จำเป็นต้องทำให้กับลูกค้าทุกคน เค้ามีสิทธิเลือกอยู่แล้ว แต่คุณต้องกล้าเสนอ ถ้าสิ่งที่เราเสนอไปแล้วเค้าไม่ต้องการเสพ ก็ให้เค้าไปเสพร้านอื่น ไม่มีความจำเป็นที่ว่าเราจะต้องมานั่งเอาอกเอาใจลูกค้าทั้งที่เรารู้ว่าสิ่งนั้นมันเป็นสิ่งที่ไม่ดี หมั่นศึกษา เปิดโลกทัศน์ มีทีมงานที่เก่ง ทำตัวให้ง่าย คิดว่าหน้าที่ของเราคือการสร้างสถาปัตยกรรมที่มีคุณภาพ แค่นั้นพอ” “ถ้ามันไม่ดี คุณต้องกล้าบอกเลยว่าสิ่งที่เขากำลังขอมันสร้างพิษภัยกับสิ่งแวดล้อมยังไง ฉะนั้นถ้าขบวนการเรียนการสอน สอนให้เด็กหงอ เวลาเขาจบไปเป็นนักวิชาชีพ เขาจะไปคล้อยตามกับความต้องการของคนที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจจริงๆ” เป็นความเห็นเพิ่มเติมของอาจารย์ ในฐานะเป็นนักศึกษาปริญญาเอกด้านการบริหารการศึกษา ของ Victoria University อยู่ด้วยในปัจจุบัน ส่วนคุณสมบัติของสถาปัตยกรรมที่ดีนั้น เขาบอกว่าต้องเป็นสถาปัตยกรรมที่ Logic มีเหตุมีผลรองรับในตัวเอง
สถาปัตยกรรมต้องพูดได้ สื่อสารได้ด้วยภาษาของตัวมันเอง และไม่ได้สำคัญที่รูปทรงภายนอกเท่านั้น เพราะสถาปัตยกรรมไม่ใช่แค่เรื่องฟังก์ชัน หรือฟอร์มเพียงอย่างเดียว แต่เป็นองค์ประกอบหลายสิ่งที่ประมวลขึ้นมาเป็นสถาปัตยกรรม เช่น Guggenheim Museum ในเนื้อหาที่แฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ ทำที่นิวยอร์กที่เป็นสไปรัล หรือแม้กระทั่งที่บิลเบา ประเทศสเปนก็มีเนื้อหาและการตอบสนองการใช้งานที่สุดยอด ไม่ได้เป็นสถาปัตยกรรมที่ดีแค่เพราะมีฟอร์มแปลก ความเห็นต่องานออกแบบเชิงพาณิชย์ในปัจจุบัน อาจารย์อัชชพลบอกว่า “หมู่บ้านจัดสรรดีๆ ผมว่างานของกลุ่มสมประสงค์สมัยก่อน งานดีในแง่สภาพแวดล้อมและเนื้อหา ส่วนของโนเบิลก็ดี แต่ก็อาจจะขาดความเข้าใจบางอย่าง เช่นการทำสระว่ายน้ำในบ้าน ปกติเค้าไม่ทำกันมันอันตราย โดยรวมสถาปัตยกรรมเติบโตควบคู่ไปกับภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา เมื่อคนเราเริ่มมีภาวะความเป็นอยู่ดีขึ้น ก็เริ่มคิดถึงสถาปัตยกรรม ภาพรวมความเป็นไปของสถาปัตยกรรมจากนี้ไป สิ่งหลักๆ ที่ต้องคำนึงถึง คือ การเคารพสิ่งแวดล้อม ความสามารถรองรับเทคโนโลยีในอนาคตได้ และสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่จะเกิดขึ้น”

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

วีซ่าฝรั่งเศส

ตัวอย่างวีซ่าฝรั่งเศส






ตราประจำชาติ

เวลาของฝรั่งเศสจะช้ากว่าที่เมืองไทย 6 ชั่วโมง

บริการทางด้านวีซ่า :

1. ค่าบริการกรอกแบบฟอร์ม ราคา 250 บาท (จัดส่งทางไปรษณีย์ + 50 บาท) ฟรี! จัดส่งทาง E-Mail

2. ค่าบริการ จัดเตรียมเอกสารพร้อมยื่น 5,000 บาท : กรอกฟอร์ม+ตรวจสอบเอกสารฝ่ายไทยและสปอนเซอร์+Booking Ticket + ประกันการเดินทาง (ราคานี้ไม่รวมประกันการเดินทาง) + นัดวันสัมภาษณ์

3. ค่าบริการ all process ขึ้นอยู่กับเอกสารและประวัติลูกค้า เริ่มต้นที่ 12,000 บาท ไม่ผ่านยินดีคืนเงิน (กรอกฟอร์ม + ตรวจสอบเอกสารทั้งฝ่ายไทยและสปอนเซอร์ + แปลเอกสารที่จำเป็น + consult + Booking Ticket + จองโรงแรม + Preinterview + ประกันการเดินทาง+นัดวันสัมภาษณ์

- เวลาในการดำเนินการ 5 วัน ทำการ



ราคานี้ไม่รวม :

- ประกันการเดินทาง

- ค่าธรรมเนียม 2,800 บาท (update เมื่อวันที่ 15/8/2007)

- Process 2-3 ไม่รวมค่าประกันการเดินทาง หากลูกค้าวีซ๋าไม่ผ่าน จ่ายคืนเต็มอัตรา



บริการอื่นๆ

- แปลจดหมายภาษาฝรั่งเศส - ไทย - ฝรั่งเศส (ไม่เป็นทางการ เริ่มต้นที่ 200 บาท/ ฉบับ)

- แปลจดหมายภาษาฝรั่งเศส - ไทย – ฝรั่งเศส (เป็นทางการ เริ่มต้นที่ 500 บาท / ฉบับ)

- แปลเอกสารทะเบียนราษฎร์ เอกสารอื่นๆ เพื่อนำไปทำวีซ่า เริ่มต้นที่ 800 บาท / ฉบับ)

- บริการนำ เอกสารต่างๆ และหนังสือเดินทางไปประทับตราที่สถานฑูตฝรั่งเศสค่าบริการ กรุงเทพฯ 1,000 บาท (กรุงเทพฯส่วนนอก คิดค่าดำเนินการเพิ่ม 500 บาท/ เที่ยว) ต่างจังหวัด 1,500 บาท ไม่รวมค่าธรรมเนียม ของสถานฑูต

- จองตั๋วเครื่องบิน ทุกสายการบิน

- ประกันการเดินทาง

- รับจองโรงแรมที่ประเทศฝรั่งเศส มีราคาทุกระดับ ตั้งแต่ Guest House, Apartment และโรงแรมระดับ 2-5 ดาว (สามารถส่ง Booking hotel ไปทาง E-mail) และสอบถามราคาล่วงหน้าได้ หรือ อีเมล์มาสอบถาม



เอกสารประกอบการยื่นวีซ่า :

หนังสือเดินทางเล่มจริง ต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 6 เดือน ก่อนวันหมดอายุ (ถ้ามีเล่มเก่ากรุณาแนบด้วย)
รูปถ่ายสีขนาด 2 นิ้ว 2 รูป อายุไม่เกิน 6 เดือน (พื้นหลังต้องเป็นสีขาวเท่านั้น)
สำเนาบัตรประชาชน และ สำเนาทะเบียนบ้าน
เอกสารเกี่ยวกับอาชีพ
กรณีลูกจ้าง -จดหมายรับรองการทำงานจากบริษัทที่ทำงาน เป็นภาษาอังกฤษ ถึงสถานฑูต ระบุวันที่เริ่มทำงาน เงินเดือน ตำแหน่ง และระยะเวลาที่จะพำนักในประเทศฝรั่งเศส
กรณีเจ้าของกิจการ -หนังสือรับรองบริษัทฉบับจริง ที่มีรายชื่อกรรมการอายุไม่เกิน 3 เดือน และประทับตราบริษัท มีชื่อผู้เดินทางเป็นหุ้นส่วนหรือเจ้าของ
เอกสารเกี่ยวกับรายได้
กรณีลูกจ้าง - สมุดบัญชีธนาคารส่วนตัวฉบับจริง หรือ หนังสือรับรองจากธนาคารที่ท่านมีบัญชีเงินฝากอยู่ (Bank Guaranteed)
กรณีเจ้าของกิจการ - รายการเดินบัญชีของบริษัทฯ ฉบับจริง ย้อนหลัง 6 เดือน
หนังสือเชิญจากต่างประเทศ (ถ้ามี)
เอกสารการสำรองที่นั่งตั๋วเครื่องบิน
หลักฐานแสดงที่พำนัก เช่น เอกสารการจองโรงแรม หรือ หนังสือเชิญพำนักจากเจ้าบ้าน

สถานฑูตฝรั่งเศส

EMBASSY OF FRANCE

35 SOI RONG PHASI KAO,
CHAROEN KRUNG SOI 36 RD.,
BANGKOK 10500
TEL : 0 2627 2150

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550

***...ตำนานลูกหนังฝรั่งเศษ...***

อันว่า “ฟุตบอล” (Football) หรือ “ซอคเกอร์” (Soccer) นั้น มีต้นกำเนิดที่ไหนไม่มีใครทราบ อิตาลี่กับฝรั่งเศษเองก็ยังเถียงกันไม่จบว่าใครเป็นต้นตำหรับ เนื่องจากต่างฝ่ายต่างไม่มีหลักฐานที่เพียงพอ แต่ที่แน่ๆคือ ในสมัยโบราณทั้ง 2 ประเทศมีการละเล่นที่เรียกว่า “ซูเลอ “ (Soule)หรืออีกชื่อเรียกว่า”จีโอโค เดล คาลสิโอ” (Gioco del Calsio) ซึ่งมีลักษณะการเล่นคล้ายๆกับฟุตบอล นึกภาพไม่ออกเหมือนกันสงสัยคงเป็นโกด์ลหนูแบบบ้านเราล่ะมั้ง 55!! แต่ที่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนว่าที่นี่เค้าเล่นฟุตบอลกันแบบมีกติกาอย่างเป็นทางการจ้าวแรกก็คือ อังกฤษครับ มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ คือสถาบันแรกที่ได้กำหนดข้อบังคับที่เรียกว่า “กติกาแคมบริดจ์” และได้ทำการจัดการแข่งขันภายใต้กติกาดังกล่าวในปี พ.ศ.2389 (ค.ศ.1846) รัชสมัยสมเด็จพระราชินี ”วิคตอเรีย” แต่ตามหลักฐานกลับไม่พบชื่อซุปเปอร์สตาร์ “เดวิด เบ๊คแฮม” ในยุคดังกล่าวแต่อย่างใด 55!!

หันมาดูอีกซีกโลกนึงกันบ้างครับ คุณๆอาจคิดไม่ถึงก็ได้ว่าจริงๆแล้ว ฟุตบอลอาจมีต้นกำเนิดอยู่ใกล้กับบ้านเรานี่เอง “ขงจื๊อ” ได้กล่าวในหนังสือ “กังฟู” ว่ามีกีฬาชนิดหนึ่งใช้เท้าและศีรษะ เล่นกันในสมัย จักรพรรดิ์ “เซิงติ” (32 ปีก่อนคริสกาล) ซึ่งลักษณะการเล่นคล้ายกับ ฟุตบอล เรียกว่า “ซือ-ซู” แปลว่าการเตะลูกหนังด้วยเท้า และเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมาก ถึงขั้นที่นักประพันธ์และนักประวัติศาสตร์สมัยนั้น ยกย่องผู้มีความสามารถในกีฬาชนิดนี้ว่า เป็นวีรบุรุษของชาติเลยทีเดียว และในสมัยเดียวกันก็มีการเล่นกีฬาคล้ายฟุตบอลในประเทศ ญี่ปุ่นอีกด้วย

ต่อมาในสมัยกรุงโรม ยุคแห่งพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช มีการเล่นกีฬาชนิดหนึ่งเรียกว่า “ฮาร์ปาสตัม” เป็นกีฬาที่นิยมของชาวโรมันและชาวกรีกโบราณวิธีการเล่นคือ มีประตูคนละข้าง แล้วเตะลูกบอลไปยังจุดหมายที่ต้องการ เช่น จากหมู่บ้านหนึ่งไปอีกหมู่บ้านหนึ่ง (นักฟุตบอลสมัยนี้โปรดดูเป็นตัวอย่างสมัยก่อนเค้าเล่นข้ามหมู่บ้านกันนะ สมัยนี้สนามเล็กกว่าเยอะ แหม!!ยังบ่นเหนื่อยเลยคร้าบ 55!!) ซึ่งการเล่นจะเป็นการเตะ หรือการขว้างไปข้างหน้าฮาร์ปาสตัม หมายถึงการเหวี่ยงไปข้างหน้า การเล่นกีฬาฮาร์ปาสตัมในกรุงโรมน่าจะเป็นต้นกำเนิดของกีฬาซึ่งมีการเล่นในสมัยกลาง

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2550

เอกลักษณ์ฝรั่งเศสทำพิษ

อัตลักษณ์แห่งชาติ (national identity: identité nationale) โผล่ขึ้นมาเป็นประเด็นร้อนทางสื่อฝรั่งเศสอยู่พักใหญ่ๆ เนื่องจากผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีของฝรั่งเศสคนสำคัญ อย่างนิโคลาส์ ซาร์โกซี (อดีตรัฐมนตรีมหาดไทย) ได้หยิบยกขึ้นมา เพื่อประกอบแนวนโยบายด้านการจัดการผู้อพยพเข้าฝรั่งเศส โดยประกาศจะจัดตั้งกระทรวงการอพยพเข้าและอัตลักษณ์แห่งชาติ ถ้าหากตนได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี

ประเด็นนี้จึงถูกผู้สมัครหญิงตัวเต็ง คู่แข่งคนสำคัญ เซโกแลน ฮัวยาลจากพรรคสังคมนิยมนำไปขยายผลต่อในแบบของเธอ เพื่อไม่ให้ผู้สมัครที่มีคะแนนนำเธอมาตลอดในทุกโพล อย่างซาร์โกซีผูกขาดประเด็นร้อนแบบนี้อยู่เพียงฝ่ายเดียว

แต่แล้ว ความซับซ้อนและละเอียดอ่อนของประเด็น “อัตลักษณ์” (หรือถ้าจะใช้คำที่คุ้นกว่า เข้าใจง่ายกว่า แต่มีความหมายไม่ตรงกันทีเดียวนักอย่าง “เอกลักษณ์”) ก็กลับกลายเป็นยาพิษซะมากกว่าจะเป็นยาหอมกล่อมประสาทผู้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งอย่างที่ตั้งใจไว้ มิหนำซ้ำยังทำให้ทั้งสองตกเป็นเป้าโจมตีของผู้สมัครรายอื่น รวมทั้ง นายชอง-มารี เลอ เปน คู่แข่งที่น่ากลัวคนสำคัญจากพรรคขวาจัด (ที่เคยทำเซอร์ไพรส์เข้าไปท้าชิงในรอบสองกับฌาร์ค ชิรัก ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา) ทำนองว่าปั่นกระทู้กันไม่เข้าเรื่อง จนทำให้ผู้สมัครทั้งสองต้องลดเสียงเรื่องนี้ลง แล้วหันเหความสนใจของฝูงชนไปในเรื่องอื่นแทน

เมื่อพูดถึงประเด็นเรื่อง “ความเป็นฝรั่งเศส” ก็ต้องถือว่าเป็นเมนูจานเด็ดของร้านนายเลอ เปน เขามาตลอด เพราะพรรคแกเป็นที่ยอมรับมาแต่ไหนแต่ไรว่าชูนโยบายอนุรักษ์นิยมและกีดกันคนต่างชาติอย่างเปิดเผยไม่เคยเปลี่ยน ชนิดถึงกับเคยประกาศจะลดและตัดสวัสดิการทางสังคมที่ให้กับชาวต่างชาติ ถ้าตนได้รับเลือกตั้งในการหาเสียงเมื่อห้าปีที่ผ่านมา (แต่ที่น่าสนใจ ก็คือแกลดท่าทีลง ในการเลือกตั้งครั้งนี้ !)

ดังนั้น เมื่อว่ากันด้วยเรื่องที่มีเอี่ยวกับ “คุณค่าฝรั่งเศส” ซึ่งถูกมองว่าสงวนและผูกขาดโดยธรรมชาติจากนักอนุรักษ์นิยมแล้ว ฝูงชนก็ต้องหันไปคอยท่านายเลอ เปน ชนิดที่เรียกว่าทันทีที่มีใครเริ่มอ้าปากเอ่ยเลยทีเดียว

เมื่อนายซาร์โกซีประกาศแนวนโนบายว่าด้วยเรื่อง “อัตลักษณ์แห่งชาติ” (ที่ไม่ว่าจะลุ่มลึกหรือน่าสนใจแค่ไหน) แกจึงถูกโกยเข้าไปอยู่ในตระกร้าเดียวกับนายเลอ เปน แถมยังถูกมองอย่างหยามๆ ว่าชะรอยจะมาใช้เทคนิคที่เคยทำให้เลอ เปน ควบม้ามืดเข้าไปถึงรอบสอง แบบหายใจรดต้นคอกับฌาร์ค ชิรักในการเลือกตั้งรอบแรกปี 2002 มาแล้ว

ยิ่งไปกว่านั้น นายซาร์โกซีก็ถูกประเมินราคาต่ำกว่าราคาตลาดไปล่วงหน้าเลยว่า ยังไงก็ต่ำช้ากว่าต้นตำรับตัวจริงอย่างนายเลอ เปน หัวหน้าพรรคโฟรงซ์ นาซิองนาล (Front National) หรือพรรคแนวหน้าแห่งชาติ

ยังไงก็ตาม ก็ใช่ว่าทุกคนจะเชิดหน้าชูคอประกาศตนเป็นแฟนคลับนายเลอ เปนอย่างเท่าเทียมกัน เพราะอุดมคติแบบขวาจัดนี้ก็มักถูกสังคมพิพากษาว่าเป็นอันตราย อย่างเมื่อหลังจากที่นายเลอ เปนได้เข้าไปในรอบสองของการเลือกตั้งคราวที่แล้ว นักวิชาการและนักเคลื่อนไหวจำนวนมากก็ออกมาเตือนสติสังคมให้ใช้วิจารณญาณในการรับชม เอ้ย..เลือกตั้ง

จึงมีคำอธิบายจากนักวิเคราะห์ว่า ที่ตัวเลขคะแนนนิยมของนายซาร์โกซีนั้นค่อนข้างสูง (ประมาณ 25-30% แล้วแต่สำนัก) และนำผู้สมัครอันดับสองอย่างนางสาวเซโกเลน (อยู่ระหว่าง 20-25%) มาโดยตลอดนั้น ส่วนนึงเป็นคะแนนแอบแฝงของนายเลอ เปน เนื่องจากผู้ตอบแบบสอบถามไม่กล้าแสดงออกอย่างชัดเจนว่าจะเลือกนายเลอ เปน จึงเลี่ยงไปตอบชื่อผู้สมัครที่ตนมองว่าเป็นที่นิยม อย่างนายซาร์โกซี ซึ่งถูกสังคมมอง (ผิดๆ) ว่าเสนอนโยบายเหยียดผิวทำนองเดียวกับนายเลอ เปน

การวิเคราะห์นี้จะถูกหรือไม่ เราก็คงจะได้เห็นกันในเย็นวันที่ 22 เมษายนที่จะถึง

เราย้อนกลับมาที่เรื่องอัตลักษณ์หรือเอกลักษณ์ฝรั่งเศส โดยตัวของมันเอง เป็นเรื่องซับซ้อนมากเพราะสามารถยกทฤษฎีทางปรัชญาหรือสังคมวิทยาขึ้นมาเถียงกันเป็นวัน เราจึงพบว่าเนื้อหาของการสนทนาเกี่ยวกับเรื่องอัตลักษณ์จริงๆ จึงถูกจำกัดอยู่แค่ในระดับผิวเผิน และนักการเมืองก็เลือกที่จะไม่ให้นิยามหรือคำจำกัดความที่ตายตัวกับมันแถมปล่อยให้มีความคลุมเครือต่อไป

อย่างไรก็ดี คำถามที่ง่ายที่สุดที่ถูกหยิบยกขึ้นมา นอกจากเรื่องความเป็นชาติและแนวคิดชาตินิยม ก็คือคำถามเกี่ยวกับ “ความเป็นฝรั่งเศส”

อะไรคือความเป็นฝรั่งเศส?

คือคุณค่าที่เป็นนามธรรมในเรื่อง “อิสรภาพ เสมอภาพและภราดรภาพ”? หรือสิ่งที่เป็นรูปธรรมอย่างหอไอเฟลและชองซะลิเซ่?

คือสิ่งที่สามารถตีค่าเป็นตัวเงินนำเข้าประเทศอย่างไวน์ ชีสและบาแก็ต? หรือตราสินค้าแบรนด์เนมอย่างหลุยส์ วิตตง ดิออร์ ....?

คือคุณค่าหรืออุดมคติที่คนฝรั่งเศสทุกคนเห็นตรงกันว่าเป็นเช่นนั้น? หรือสิ่งที่ชาวต่างชาติเข้าใจว่าเป็นเช่นนั้น?

หรือความเป็นปัจเจกของคนฝรั่งเศสที่มีลักษณะร่วมกันเป็นสากล? หรือลักษณะเฉพาะของสังคมฝรั่งเศสซึ่งเป็นผลจากการรวมตัวของปัจเจกที่ว่า?

คือภาษาฝรั่งเศสที่เป็นแบบแผนและต้องปกป้อง และมีศัตรูคือภาษาต่างชาติอย่างอังกฤษ ที่นับวันก็จะคุกคามและลุกลามเข้ามาในชีวิตคนฝรั่งเศส?

...

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2550

การจัดลำดับชั้นของไวน์ฝรั่งเศส

ไวน์ฝรั่งเศสทั้งแดง ขาว และโรเซ่ ไวน์ประเภทมีฟอง หรือ ประเภทหวานมาก,หวานน้อย,ไม่หวาน, ดราย มีระดับแอลกอฮอล์ต่างๆ ตั้งแต่ 8–14 ดีกรี และสูงกว่า ทุกชนิดจัดแบ่งตามมาตรฐาน คุณภาพโดยทางการฝรั่งเศสแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ

1. Appellation d’ Origine Controlee – AOC (อัปเปอลาซิยง ดอริจิ้น กงโทลเล่)
ไวน์ ผลิตภายใต้การควบคุมคุณภาพมาตรฐานกรรมวิธีการผลิตอย่างเข้มงวดกวดขัน ละเอียดถี่ถ้วน รวมไปถึงการควบคุมสายพันธุ์องุ่น การปลูก ปริมาณการผลิต ทำเล และขนาดของไร่องุ่น ฯลฯ โดยกฎหมายและทางการฝรั่งเศส ตลอดจนองค์กรอื่นๆ เช่น Institute National des Appellation d’ Origine – NAO สถาบันแห่งชาติ ทำการควบคุมดูแลตรวจสอบขั้นตอนต่างๆ และคุณภาพไวน์อย่างจริงจังอย่างต่อเนื่อง เพราะฝรั่งเศส ถือว่าอุตสาหกรรมไวน์ และไวน์ฝรั่งเศสทุกขนานเป็นภูมิฐาน ความมีศักดิ์ศรี ความหยิ่งผยอง ทรนง ความภาคภูมิใจของชาติที่เป็นเครื่องเชิดหน้าชูตา อันสง่างาม เป็นตัวแทนของประเทศสมกับที่ได้รับการยกย่อง สรรเสริญได้รับความไว้วางใจ ได้รับความนิยมชมชอบจากชาวโลกผู้รักไวน์ทั้งหลายเสมอมา


2. Vin Delimite de Qualite Superieure – VDQS (แว็ง เดอลิมิตเต้ เดอ กาลิเต้ ซุปเปริเยอร์)
ไวน์ผลิตภายใต้การควบคุมกฎเกณฑ์กรรมวิธีการผลิตให้ได้มาตรฐานคุณภาพตามที่ทางการฝรั่งเศสกำหนดเข้มงวดกว่า Vin de Pays ระดับหนึ่ง

3. Vin de Pays (แว็ง เดอ เปอี)
ไวน์ระดับคุณภาพมาตรฐานถูกควบคุมโดยทางการฝรั่งเศส แต่ไม่เข้มงวดมากนัก มีการควบคุมแหล่งผลิต ทำเล และขนาดของไร่องุ่น Origin ตลอดจนมารตรฐานคุณภาพขั้นพื้นฐาน Basic Quality ของไวน์นั้นอย่างไม่เป็นทางการ ระบบการควบคุมที่ยืดหยุ่นนี้ เปิดโอกาสให้ชาวไร่องุ่น Growers สามารถทำการทดลองผลิตไวน์นานาชนิด รสชาติแปลกใหม่ด้วยการผสมองุ่นสายพันธุ์ต่างๆ ในอัตราส่วนไม่ซ้ำซ้อน ด้วยกรรมวิธีใหม่ๆ ออกสู่ตลาดได้อย่างอิสระ เพื่อคนรักไวน์จะได้มีโอกาสได้ลิ้มชิมรสไวน์ ที่น่าตื่นเต้นขนานแปลกๆ ใหม่ๆ อยู่เสมอ ไวน์ระดับนี้มีคุณภาพมาตรฐานสูงกว่า Vin de Table ชนิดตั้งโต๊ะ และไวน์คุณภาพดีบางตัวจากระดับนี้ อาจจะมีโอกาสได้ขึ้นชั้นมาอยู่ในระดับ AOC ได้ด้วย

4. Vin de Table (แว็ง เดอ ตาบเบลอ)
ไวน์ระดับคุณภาพต่ำใช้ดื่มแทนน้ำ ประเภทตั้งโต๊ะ ไม่มีการควบคุมมาตรฐานโดยทางการ แต่อย่างไรชาวไร่องุ่น Growers และเจ้าของโรงงานผลิตไวน์ Winery สามารถผลิตไวน์นี้ออกมาอย่างอิสระ

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

ก่อนจะเป็นหอไอเฟล

"ภาพเก่าเก็บ เป็นภาพลำดับขั้นตอนการก่อสร้าง หอคอยไอเฟล แห่งเมืองน้ำหอม ในช่วงปี 1887-1889"







วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2550

สำนวนเด็ดๆ ภาษาฝรั่งเศส

Ma vie, je la passe à l'attendre.

สำนวนนี้ อ่านว่า มา วี, เฌอ ลา ปาส อะ ลัตตองเดรอะ (ออกเสียงเดรอะนิดหน่อยนะค่ะ)

สำนวนนี้ ใช้สำหรับ คนที่อยากจะพูดตัดพ้อคนรัก ที่บอกให้เรารอแล้วรออีก

ซึ่งมันแปลว่า "ผมรอมันมาทั้งชีวิตแล้วน่ะ"

(เมื่อไหร่จะใจอ่อนซะที 555+ อันนี้เสริมเองนะค่ะ)


ลองเอาไปใช้กะกิ๊กชาวฝรั่งเศสดูนะค่ะ

แบบฝึกหัด...ลองทำดูคุณทำได้.....

Compl้tez les phrases avec " je, tu, il, elle, nous, vous, ils, elles "

1. Qu'est-ce que ....................... faites ?

2. ................. avons beaucoup d'amis en France !

3. ................ suis Tha๏landaise.

4. ................. ach่tes ces fleurs, maman ?

5. ............... s'appelle Jean.

6. C'est ma m่re. ............... est tr่s gentille avec moi !

7. Anne et Coralie sont copines. ................ sont toujours ensemble !

8. J'aime bien ces fruits. ................. sont tr่s bons !

อะ อะ อะ อย่าเพิ่งแอบดูนะค่ะ....ลองทำก่อนค่ะ


เฉลย


Question 1: vous.
Question 2: Nous.
Question 3: Je.
Question 4: Tu.
Question 5: Il.
Question 6: Elle.
Question 7: Elles.
Question 8: Ils.

L'alphabet français

ตัวอักษรฝรั่งเศสมีทั้งหมด 26 ตัว ในจำนวน 26 ตัวนี้แบ่งเป็นพยัญนะ 21 ตัว (Consonnes)
และ สระ 5 ตัว (Voyelles)ตัวอักษรฝรั่งเศสและการอ่าน
A (อา) B (เบ) C (เซ)
D (เด) E (เออ) F (แอฟ)
G (เช) H (อาช) I (อี)
J (ชี) K (กา) L (แอน)
M (แอ็ม) N (แอ็น) O (โอ)
P (เป) Q (กวู) R (แอรค)
S (แอส) T (เต) U (อวู)
V (เว) W (ดูบเลิ้บเว) X (อิ้ก)
Y (อิแกร็ค) Z (แซด)

ส่วนสระภาษาฝรั่งเศส ก็เหมือนกับภาษาอังกฤษ คือ A E I O U และ Y
**ทักษะง่ายๆ ของภาษาฝรั่งเศสนะค่ะ**
..........................................................................

***French Language****

arranger [อา-รอง-เช]
(v.) 1. จัดแจง, จัดวาง : Elle arrange des fleurs dans un vase. 2. จัดการ, แก้ปัญหา, แก้ไข, ซ่อมแซม : Ne t'inquiète pas ! Je vais arranger ça ! / Julien essaie d'arranger la chaîne de son vélo. / Il faut arranger cette serrure qui ferme mal. 3 . สะดวก, เหมาะ : Viens plutôt demain, cela m'arrange ! / Quelle heure vous arrange le mieux ?

s'arranger
(v.) 1. จัดการตัวเอง, เอาตัวรอดได้ : Arrange-toi pour arriver à l'heure ! / Anne s'est arrangée pour être assise au premier rang. 2. ตกลงกัน : Elle s'est arrangée avec la voisine pour nourrir le chat. 3. เรียบร้อย, เข้ารูปเข้ารอย : Tout finira par s'arranger ! / Ne t'inquiète pas ! Ça va s'arranger !

arrangement [อา-รอง-(เชอ)-มอง]
(n.m.) 1. การจัด, การจัดแจง : Mamie a bien réussi l'arrangement de son salon. 2. ข้อตกลง, การตกลง : Un arrangement a mis fin à leur dispute.

toilette [ตัว-แล๊ต(เตอ)]
(n.f.) (faire sa toilette) 1. การแต่งตัว, (การชำระล้างร่างกาย) การอาบนํ้าแต่งตัว : Je fais ma toilette avant de m'habiller. / Tu as fini de faire ta toilette ? 2. ชุดเสื้อผ้าสตรี : Le mannequin porte une toilette élégante. / Les invitées portent de belles toilettes.

de toilette (locution adjectivale) = ที่เกี่ยวกับการแต่งตัว : articles de toilette, affaires de toilette
1. เครื่องสำอาง, สบู่ ยาสีฟัน ...(ที่ใช้ในการอาบนํ้าแต่งตัว) : Ses affaires de toilette sont sur l'étagère.

gant de toilette
1. ถุงมือผ้าที่ใช้ถูร่างกายเวลาอาบนํ้า : Jean aime nettoyer son visage avec un gant de toilette parce qu'il se sent plus propre.

eau de toilette
1. นํ้าหอม : Elle met de l'eau de toilette tous les jours. : trousse de toilette 1. ซองหรือกระเป๋าเล็กๆที่ใส่เครื่องสำอาง : Elle met toutes ses affaires de toilette dans cette trousse de toilette pour partir en voyage.

susceptible [ซุส-แซป-ตีบ(เบลอ)
(adj.) 1. ที่โกรธง่าย, ที่ใจน้อย : Sylvie est très susceptible, on ne peut lui faire aucune remarque. / Il ne supporte pas les plaisanteries, il est très susceptible !
susceptible de 2. มีท่าทางว่า, ที่อาจจะ .... : Mes projets de vacances sont susceptibles de changer. / C'est un film susceptible de t'intéresser.

susceptibilité [ซุส-แซป-ติ-บิ-ลิ-เต้]
(n.f.) 1. นิสัยคนใจน้อย, ภาวะอารมณ์อ่อนไหวต่อความรู้สึก : Elle est d'une grande susceptibilité. / Sa susceptibilité la rend malheureuse.

toilettes
(n.f.pluriels) 1. ห้องนํ้า, ห้องส้วม [synonyme : W.- C., waters] Les toilettes du café sont au sous-sol. / Où sont les toilettes, s'il vous plaît ? / Elle est allée aux W.-C. [aux waters]

toilettage [ตัว-แล๊ต-ตาช(เชอ)]
(n.m.) 1. การเสริมสวย(อาบนํ้า, ตัดแต่งขนหรือเล็บ)ให้สัตว์เลี้ยง เช่น แมว, สุนัข : Il y a beaucoup de salons de toilettage pour chiens et chats en France.

toiletteur [ตัว-แล๊ต-เตอ] (n.m.) / toiletteuse [ตัว-แล๊ต-เตอซ]
(n.f.) 1. ช่างเสริมสวยสัตว์เลี้ยง : Catherine est toiletteuse dans un salon de toilettage à Paris. Elle gagne bien sa vie !

précipiter [พเร-ซิ-ปิ-เต้]
(v.) 1. พุ่งลงไป, เร่ง : Les journaux disent qu'il a précipité sa femme par la fenêtre. / Nous devons précipiter notre départ pour éviter les embouteillages.

se précipiter [เซอ พเร-ซิ-ปิ-เต้]
(v.) 1. รีบเร่ง, วิ่งเข้าหา, พุ่งตัว(ลง)ไป : Dès que la cloche sonne, les élèves se précipitent vers la sortie. / Ne vous précipitez pas, réfléchissez un peu ! / Les enfants, ne vous précipitez pas les premiers dans le car, laissez passer d'abord les personnes âgées.

précipité [พเร-ซิ-ปิ-เต้]
(adj.) 1. ที่เร่งรีบ พรวดพราด : On entend des pas précipités. / Son départ a été trop précipité, il n'a pas eu le temps de régler toutes ses affaires.

précipitamment [พเร-ซิ-ปิ-ตาม-มอง]
(adv.) 1. อย่างเร่งรีบ, อย่างรีบร้อน, อย่างปัจจุบันทันด่วน : Elle a dû partir précipitamment. / Il vaut mieux réfléchir que répondre précipitamment.

précipitation [พเร-ซิ-ปิ-ตา-ซิ-ยอง]
(n.f.) 1. ความเร่งรีบ, ความผลุนผลัน : Il ne faut pas agir avec précipitation. / Ils sont partis acec précipitation.

précipitations [พเร-ซิ-ปิ-ตา-ซิ-ยอง]
(n.f. pl.) 1. ฝน, หิมะ, ลูกเห็บ (ที่ตกลงมา) : La météo annonce de fortes précipitations pour demain.

adroit [อา-ดรัว] / adroite [อา-ดรวต(เตอ)]
(adj.) 1. ชำนาญ, คล่องแคล่ว, ว่องไว, ฉลาด : Olivier est un garçon adroit. / Cet artisan est très adroit de ses mains.

adroitement [อา-ดรวต-มอง]
(adv.) 1. อย่างคล่องแคล่ว, อย่างว่องไว : Le boucher coupe adroitement de la viande.

distraire [ดิส-แทร(เรอ)]
(v.) 1. ทำให้เพลิดเพลิน, ให้ความสำราญ : Ce film nous a bien distraits. 2 . หันเห, เบี่ยงเบนความสนใจจาก, รบกวน : Ce coup de téléphone m'a distrait de mon travail.

se distraire
1. หย่อนใจ, หาความเพลิดเพลิน, สนุกสนาน : Les gens vont au cinéma pour se distraire.

distraction [ดิส-ทรัก-ซิ-ยอง]
(n.f.] 1. การหย่อนใจ, ความบันเทิง : Écouter de la musique, c'est la
distraction préférée d'Annie. 2 . การเผลอ, ความใจลอย : Il a mis du sel dans son café par distraction !

distrait [ดิส-แทร]
(adj.) 1. เหม่อ, ใจลอย, ไม่ตั้งใจ : Julie n'écoute pas en classe, elle est très distraite.

distrayant [ดิส-เทร-ยอง]
(adj.) 1. สนุก, เพลิดเพลิน : Cette émission de télévision est très distrayante.

opérer [โอ-เป-เร]
(v.) 1. เกิดผล, ดำเนินการ, กระทำ, ปฎิบัติการ : Le remède commence à opérer. / La voiture a opéré un demi-tour à vive allure. / Je le connais très mal ; d'après vous comment faut-il opérer avec lui ? 2. ผ่าตัด : Le chirurgien a opéré Julie de l'appendicite. [se faire opérer = เข้ารับการผ่าตัด : Ma mère entre à l'hôpital lundi : elle doit se faire opérer. Ah bon ? Et quand a lieu l'opération ? ]

opération [โอ-เป-รา-ซิ-ยอง]
(n.f.) 1. การปฎิบัติ, ปฎิบัติการ, การดำเนินการ : Il a fait une bonne opération en achetant son appartement : il a fait une bonne affaire. / Dans la construction d'une voiture, la plupart des opérations sont effectuées par des machines. / Beaucoup de pays sont contre les opérations militaires des États Unis en Irak. 2. วิธีการ : En calcul, il y a quatre opérations : l'addition, la soustraction, la multiplication et la division. / Je ne sais pas faire cette opération de mémoire, il faut que je l'écrive. / Ajoute 3 à 2, enlève 4 à ce que tu asobtenu. Quel est le résultat de ces opérations ? 3. การผ่าตัด : Après l'opération des jambes, il pourra marcher normalement.

maladroit [มา-ลา-ดรัว] / maladroite [มา-ลา-ดรวต(เตอ)]
(adj.) . 1. งุ่มง่าม, ซุ่มซ่าม, ไม่คล่องแคล่ว : Cette serveuse est maladroite, elle casse tout : des assiettes, des verres... 2. ที่ไม่มีปฎิภาณ : Elle est très maladroite, elle dit toujours ce qu'il ne faut pas dire !

maladroit / maladroite
(n.) 1. คนซุ่มซ่าม, คนที่ไม่มีไหวพริบ : Ce maladroit a encore brisé la vitre. / La maladroite casse souvent tout !

maladroitement [มา-ลา-ดรวต-มอง]
(adv.) 1. อย่างงุ่มงาม, อย่างซุ่มซ่าม, : Il marche maladroitement à cause de son sac à dos.

adresse [อา-แดรส(เซอ)]
(n.f.) 1. ความชำนาญ, คว่ามคล่องแคล่ว, ความสันทัด : Ce boulanger travaille avec beaucoup d'adresse ! 2. ที่อยู่ : Elle m'écrit à ma nouvelle adresse.

maladresse [มา-ลา-แดรส(เซอ)]
(n.f.) 1. ความซุ่มซ่าม, ความเซ่อซ่า : Il a renversé son verre par maladresse. 2. ความไม่มีปฎิภาณ : Sa maladresse à dire ce qu'il ne faut pas lui cause beaucoup de problèmes !

gauche [โกช(เชอ)]
(adj.) 1. ซ้าย, ข้างซ้าย : Certaines personnes écrivent de la main gauche. 2. งุ่มงาม, เก้งก้าง, เคอะเขิน : Henri est un garçon timide et gauche.

gauche
(n.f.) 1. ด้านซ้าย : Tournez d'abord à droite, puis à gauche. / En France, les voitures tiennent sur leur droite alors qu'en Thaïlande, les voitures tiennent sur leur gauche. 2. พรรคการเมืองฝ่ายซ้าย : C'est un parti de la gauche. / Ce sont des hommes politiques de la gauche .
gaucher / gauchère [โก-เช] / [โก-แช(เรอ)] (adj.) 1. ที่ถนัดซ้าย : Julie est une enfant gauchère.

gaucherie [โก-เชอ-รี]
(n.f.) 1. ความงุ่มงาม,ความเก้งก้าง, ความเคอะเขิน : Il est très timide et, souvent, il parle avec gaucherie ! se lever du pied gauche [familier] = ตื่นนอนขึ้นมาด้วยอารมณ์ที่ไม่ดี : Mon père s'est levé du pied gauche ce matin ! passer l'arme à gauche [familier] = ตาย : Il a passé l'arme à gauche hier matin.

souhaiter [ซู-เอ-เต]
(v) 1.ปรารถนา : Elle ne souhaite plus que la paix ! / Je souhaite vous revoir bientôt / Je souhaite que tout se passe bien. 2 . อวยพร, ให้พร : Je vous souhaite un joyeux Noël et une bonne et heureuse année 2004.

souhait [ซู-เอ]
(n.m) 1. ความปรารถนา : Son souhait s'est enfin réalisé ! À vos souhaits / À tes souhaits = ขอให้สมปรารถนา [กล่าวอวยพรเมื่อคนที่อยู่ข้างๆจาม]

souhaitable [ซู-เอ-ตาบ(เบลอะ)]
(adj) 1.เป็นที่ปรารถนา, เป็นที่หวังกันว่า : Elle a toutes les qualités souhaitables pour faire ce métier. / Il serait souhaitable que tous mes élèves consacrent plus de temps pour leurs études !

entendre [ออง-ตอง(เดรอ)] (v.) [entendre (qqn, un bruit), entendre (qqn, qqch) + inf.]
1. ได้ยิน : Je vous entends mal, parlez plus fort ! / Sa grand-mère n'entend plus très bien, elle est un peu sourde. / J'entends du bruit dans la pièce à côté. / Tiens, tu es là ? Je ne t'ai pas entendu rentrer.

[entendre parler de qqn, de qqch) / entendre dire que + ind.]
1. ได้ยินเขาพูดถึง ..., / ได้ยินเขาพูดกันว่า ... : Tu sais ce qu'est devenue Marie ? Non, je n'ai plus jamais entendre parler d'elle. / As-tu entendu parler de son dernier livre ? / J'ai entendu dire qu'on allait changer de ministre de l'Éducation Nationale. / On entend dire qu'elle est très déprimée. 2. ฟัง : Il est allé entendre un concert de rock. 3 . ต้องการ ... : La maîtresse entend se faire obéir. / J'entends bien rester ! 4 . เข้าใจ : Ma mère m'a laissé entendre qu'elle n'aimait pas ma façon de m'habiller. / Anne n'entend rien aux mathématiques. 5 . หมายความว่า..., เข้าใจว่า... : Qu'est-ce que vous entendez par là ? Si vous n'êtes pas d'accord, dites-le franchement.

s'entendre (avec qqn) sur qqch [ซอง-ตอง(เดรอ)]
(v.) 1. เข้ากันได้, ตกลงกันได้, รอมชอมกันได้, : Anne et Flora s'entendent bien, elles sont bien ensemble, elles sont amies. / Pattiya s'entend très bien avec Nantawan, c'est sa meilleure amie. / Il faut s'entendre : ou vous voulez aller au cinéma, ou vous voulez rester à regarder la télévision, mais il faut choisir !

c'est entendu, il est (bien) entendu que + ind.
1. ตกลง, เป็นที่ตกลงกันว่า, : Nous nous retrouverons demain ? (C'est) Entendu. / C'est entendu, vous pouvez compter sur moi. [Bien entendu] 2. แน่นอน : Les élèves doivent faire tous les exercices eux-mêmes, bien entendu. (= bien sûr)

entente [ออง-ตอง(เตอ)]
(n.f.) 1. ความเข้าใจ, ความปรองดอง, ความตกลง : Il n'y a pas toujours une bonne entente entre Anne et son frère. / Les deux pays sont arrivés à une entente.

merveilleux [แมร์-แวย-เยอ]
(adj.) 1. น่าพิศวง, น่าอัศจรรย์, ที่วิเศษ, ที่สวยงามมาก : Les enfants aiment les contes merveilleux. / J'aime les paysages merveilleux de la Thaïlande. / C'est merveilleux d'être libre ! (synonyme : extraordinaire, magnifique, splendide)

merveilleusement [แมร์-แวย-มอง]
(adv.) 1. อย่างสมบูรณ์แบบ, อย่างยอดเยี่ยมเกือบ, อย่างวิเศษสุด : Tout s'est merveilleusement bien passé. / Tu as merveilleusement joué.

à merveille [อะ แมร์-แวย(เยอ)] (locution adverbiale.)
1. อย่างสมบูรณ์แบบ, อย่างยอดเยี่ยมเกือบ, อย่างวิเศษสุด : Ces deux copines s'entendent à merveille. / Son rôle lui convient à merveille.

merveille [แมร์-แวย(เยอ)]
(n.f.) 1. สิ่งมหัศจรรย์ : Quelles sont les 7 merveilles du monde ? / Ce bouquet de rose est une merveille ! / Ce médicament a fait merveille. (Mots de la même famille : émerveillement, émerveiller)

précipiter [พเร-ซิ-ปิ-เต้]
(v.) 1. พุ่งลงไป, เร่ง : Les journaux disent qu'il a précipité sa femme par la fenêtre. / Nous devons précipiter notre départ pour éviter les embouteillages.

se précipiter [เซอ พเร-ซิ-ปิ-เต้]
(v.) 1. รีบเร่ง, วิ่งเข้าหา, พุ่งตัว(ลง)ไป : Dès que la cloche sonne, les élèves se précipitent vers la sortie. / Ne vous précipitez pas, réfléchissez un peu ! / Les enfants, ne vous précipitez pas les premiers dans le car, laissez passer d'abord les personnes âgées.

précipité [พเร-ซิ-ปิ-เต้]
(adj.) 1. ที่เร่งรีบ พรวดพราด : On entend des pas précipités. / Son départ a été trop précipité, il n'a pas eu le temps de régler toutes ses affaires.

précipitamment [พเร-ซิ-ปิ-ตาม-มอง]
(adv.) 1. อย่างเร่งรีบ, อย่างรีบร้อน, อย่างปัจจุบันทันด่วน : Elle a dû partir précipitamment. / Il vaut mieux réfléchir que répondre précipitamment.

précipitation [พเร-ซิ-ปิ-ตา-ซิ-ยอง]
(n.f.) 1. ความเร่งรีบ, ความผลุนผลัน : Il ne faut pas agir avec précipitation. / Ils sont partis acec précipitation.

précipitations [พเร-ซิ-ปิ-ตา-ซิ-ยอง]
(n.f. pl.) 1. ฝน, หิมะ, ลูกเห็บ (ที่ตกลงมา) : La météo annonce de fortes précipitations pour demain.

vérifier [เว-ริ-ฟิ-เย]
(v.) 1. ตรวจสอบ, ตรวจ, ตรวจสอบว่าถูกต้องหรือเป็นจริง : La police est en train de vérifier si ce qu'a dit le témoin est exact. / Vérifie toujours l'addition avant de payer. / Les gendarmes vérifient les papiers de l'automobiliste. (synonyme : s'assurer de, contrôler, examiner)

vérification [เว-ริ-ฟิ-กา-ซิ-ยอง]
(n.f.) 1. การตรวจสอบ, การพิสูจน์ว่าถูกต้อง : Le policier lui a demandé ses papiers pour vérification d'identité. / La vérification de l'addition est faite.

vérifiable [เว-ริ-ฟิ-ยาบ(เบลอ)]
(adj.) 1. ที่สามารถตรวจสอบได้ : Cette adresse est facilement vérifiable. / Ce qu'il dit est vérifiable.

invérifiable [แอง-เว-ริ-ฟิ-ยาบ(เบลอ)]
(adj.) 1. ที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ : Son emploi du temps est invérifiable. / Ce qu'il dit est invérifiable.

catastrophe [กา-ตาส-ทรอฟ(เฟอ)]
(n.f.) 1. ภัยพิบัติ, วินาศภัย, ภัยที่เกิดขึ้นอย่างไม่รู้ตัว : Les tsunamis ont ravagé les îles et les zones littorales du sud de la Thaïlande faisant des centaines de morts et de milliers de blessés, c'est une catastrophe du jamais vu ! / Ce n'est pas une catastrophe si tu rates ton examen, tu recommenceras l'année prochaine. (synonyme : désastre, malheur)

catastrophique [กา-ตาส-ทรอฟ-ฟิก(เกอ)]
(adj.) 1. ที่ร้ายแรง, ที่ก่อให้เกิดความสูญเสียหรือเสียหายมาก : J'ai tout perdu, c'est catastrophique ! / Cette sécheresse est catastrophique pour les agriculteurs.

catastrophé (être) [กา-ตาส-ทรอฟ-เฟ]
(adj.) 1. เศร้า, ไม่มีความสุข : Je suis catastrophé par sa mort. / Tu as l'air catastrophé, que se passe-t-il ?

en catastrophe [ออง กา-ตาส-ทรอฟ(เฟอ)] (locution adverbiale)
1. อย่างกระทันหัน, อย่างเร่งรีบ : L'avion a dû atterrir en catastrophe. / Elle est arrivée en catastrophe pendant la cérémonie.

qu'importe [แกง-ปอร์ต(เตอ)] (locution adverbiale)
1. ไม่สำคัญอะไร, ไม่มีอะไรสำคัญ : Après tout, qu'importe, puisque tout s'est bien passé.

merveilleux [แมร์-แวย-เยอ]
(adj.) 1. น่าพิศวง, น่าอัศจรรย์, ที่วิเศษ, ที่สวยงามมาก : Les enfants aiment les contes merveilleux. / J'aime les paysages merveilleux de la Thaïlande. / C'est merveilleux d'être libre ! (synonyme : extraordinaire, magnifique, splendide)

merveilleusement [แมร์-แวย-มอง]
(adv.) 1. อย่างสมบูรณ์แบบ, อย่างยอดเยี่ยมเกือบ, อย่างวิเศษสุด : Tout s'est merveilleusement bien passé. / Tu as merveilleusement joué.

à merveille [อะ แมร์-แวย(เยอ)] (locution adverbiale.)
1. อย่างสมบูรณ์แบบ, อย่างยอดเยี่ยมเกือบ, อย่างวิเศษสุด : Ces deux copines s'entendent à merveille. / Son rôle lui convient à merveille.

merveille [แมร์-แวย(เยอ)]
(n.f.) 1. สิ่งมหัศจรรย์ : Quelles sont les 7 merveilles du monde ? / Ce bouquet de rose est une merveille ! / Ce médicament a fait merveille. (Mots de la même famille : émerveillement, émerveiller)

n'importe [แนง-ปอร์ต(เตอ)] (locution adverbiale)
1. ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม : On ne connaît pas le coupable? n'importe, il faut réparer la faute.

n'importe qui [แนง-ปอร์ต(เตอ) กิ๊] (locution pronominale)
1. ไม่ว่าใครก็ตาม : Il ne faut pas fréquenter n'importe qui ! / N'importe qui peut entrer dans cette maison, tout est ouvert !

n'importe quoi [แนง-ปอร์ต(เตอ) กัว] (locution pronominale)
1. ไม่ว่าอะไรก็ตาม : N'importe quoi peut vous arriver à n'importe quel moment. 2. สิ่งที่ไม่มีประโยชน์, สิ่งที่ไม่มีความหมาย, เรื่อยเปื่อย, สัพเพเหระ : Tu n'as rien compris, tu dis n'importe quoi ! / Ne le crois pas trop, il raconte n'importe quoi !

n'importe comment [แนง-ปอร์ต(เตอ) กอม-มอง] (locution adverbiale)
1. ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตาม : N'importe comment, vous ne me convaincrez pas ! / Dépêche-toi ! Ce n'est pas la peine ; n'importe comment, on est en retard. 2. ชุ่ยๆ, ไม่พิถีพิถัน, ไม่ใส่ใจ : Ce travail a été fait n'importe comment ! / Il travaille vraiment n'importe comment !

n'importe où [แนง-ปอร์-ตู๊] (locution adverbiale)
1. ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนก็ได้ : Ne pose pas tes affaires n'importe où. / Allons n'importe où, pourvu qu'on soit tranquille. / Je veux bien déjeuner n'importe où, ça m'est égal.

n'importe quand [แนง-ปอร์ต(เตอ) กอง] (locution adverbiale)
1. ไม่ว่าจะเป็นเมื่อไรก็ตาม (เมื่อไรก็ได้) : Vous pouvez venir chez moi n'importe quand, je ne bouge pas.

n'importe quel + n. [แนง-ปอร์ต(เตอ) แกล ...] (locution déterminative)
1. ไม่ว่าจะเป็น ...... ไหนก็ตาม : Ça ne va pas ? Tu ne peux pas rentrer à n'importe quelle heure ! / Tu peux lui téléphoner n'importe quel jour ; il est toujours là.

désespérer [เด-เซส-เป-เร] (v.) [désespérer qqn, de + inf.]
1. ทำให้หมดหวัง, หมดหวัง, ผิดหวัง : Tu n'as toujours pas compris ? Tu me désespères ! / Elle ne désespère pas de réussir un jour. (contraire : espérer)

(être) désespéré [เด-เซส-เป-เร]
(adj.) 1. รู้สึกหมดหวัง, ที่สิ้นหวัง : Ça fait trois fois que Pierre rate son examen, il est désespéré. / La situation n'est pas désespérée, on peut encore essayer quelque chose.

désespérant [เด-เซส-เป-รอง]
(adj.) 1. ที่น่าผิดหวัง, ที่น่าหมดหวัง : La situation économique est désespérante / Il refait toujours les mêmes erreurs, c'est désespérant. !

désespérément [เด-เซส-เป-เร-มอง]
(adv.) 1. อย่างสิ้นหวัง : Depuis son départ, il l'attend désespérément. / Il recherche désespérément son portefeuille.

désespoir [เด-เซส-ปัว]
(n.m.) 1. ความท้อแท้, ความสิ้นหวัง : Elle a eu tant de malheurs qu'elle a cédé au désespoir. / Depuis qu'elle est partie, il est au désespoir. (contraire : espoir)

catastrophe [กา-ตาส-ทรอฟ(เฟอ)]
(n.f.) 1. ภัยพิบัติ, วินาศภัย, ภัยที่เกิดขึ้นอย่างไม่รู้ตัว : Les tsunamis ont ravagé les îles et les zones littorales du sud de la Thaïlande faisant des centaines de morts et de milliers de blessés, c'est une catastrophe du jamais vu ! / Ce n'est pas une catastrophe si tu rates ton examen, tu recommenceras l'année prochaine. (synonyme : désastre, malheur)

catastrophique [กา-ตาส-ทรอฟ-ฟิก(เกอ)]
(adj.) 1. ที่ร้ายแรง, ที่ก่อให้เกิดความสูญเสียหรือเสียหายมาก : J'ai tout perdu, c'est catastrophique ! / Cette sécheresse est catastrophique pour les agriculteurs.

catastrophé (être) [กา-ตาส-ทรอฟ-เฟ]
(adj.) 1. เศร้า, ไม่มีความสุข : Je suis catastrophé par sa mort. / Tu as l'air catastrophé, que se passe-t-il ?

en catastrophe [ออง กา-ตาส-ทรอฟ(เฟอ)] (locution adverbiale)
1. อย่างกระทันหัน, อย่างเร่งรีบ : L'avion a dû atterrir en catastrophe. / Elle est arrivée en catastrophe pendant la cérémonie.

spectacle [สแป๊ก-ตาก(เกลอ)]
(n.m) 1. ภาพ, สิ่งที่เห็น, : La montagne offre un spectacle magnifique. 2. มหรสพ, การแสดง : Julie a vu un spectacle de marionnettes.

spectaculaire [สแป๊ก-ตา-กือ-แล(เรอ)]
(adj.) 1. น่าตื่นเต้น, น่าดู, น่าชม : Cet exercice au trapèze volant est vraiment spectaculaire.

spectateur [สแป๊ก-ตา-เตอร์)]
(n.m.) / spectatrice [สแป๊ก-ตา-ทริซ(เซอ)] (n.f.) 1. ผู้ดู, ผู้ชม : Les spectateurs applaudissent les acteurs.

téléspectateur [เต-เล-สแป๊ก-ตา-เตอร์)]
(n.m.) 1. ผู้ชมโทรทัศน์ : Beaucoup de téléspectateurs attendent cette émission avec impatience !

débarquer [เด-บาร์-เก]
(v.) 1. ขนผู้โดยสาร หรือ ของลงจากรถ, เครื่องบิน, ..., ขนของขึ้นจากเรือ : Les passagers attendent que l'on débarque leurs bagages. / Le paquebot a débarquer les passagers dès l'arrivée au port. 2. ลงจากเครื่องบิน, ขึ้นจากเรือ : Les passagers débarqueront dès que le navire sera à quai. / Les passagers ont débarqué. / Les passagers du vol 603 pourront débarquer dans cinq minutes. 3. (familier) มาถึงเ็นครั้งแรก : Un jour, il a débarqué dans la capitale et s'y est

installé. débarquement [เด-บาร์-เกอ-มอง]
(n.m.) 1. การขนถ่ายสินค้า, การลงจากเครื่องบิน, การขึ้นจากเรือ, การยกพลขึ้นบก : Dans cet aéroport, le débarquement des passagers et des bagages se fait rapidement. / Le débarquement des troupes alliées eut lieu en Normandie le 6 juin 1944. [ Ce mot est de la famille de : barque

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2550






À la fin du Moyen Âge l’Espagne des rois catholiques et les possessions des Habsbourg s’unissent, ce qui donne naissance à l’empire de Charles Quint. François Ier et son fils Henri II luttent contre cette nouvelle puissance avec des succès et des revers. Mais les guerres de religion qui marquent la seconde moitié du XVIe siècle et le règne des derniers Valois (François II, Charles IX, Henri III) éloignent la France du théâtre européen.
Il faut attendre Henri IV, puis Louis XIII et son ministre Richelieu, pour que la prépondérance espagnole soit remise en cause au profit de la France. Malgré la disparition prématurée de ces acteurs, l’équilibre des forces est rétabli puis renversé, par de grands politiques comme Mazarin, notamment en 1648 (traité de Westphalie) et 1659 (traité des Pyrénées).
Dans le domaine colonial, le bilan est en revanche mitigé : malgré un bon départ en Amérique avec l’expédition de Jacques Cartier sous François Ier, une implantation réussie aux Antilles, en Louisiane, et au Sénégal sous Louis XIV, le manque de détermination de Louis XV a conduit à de graves échecs devant les Anglais en Inde et au Canada, et, ainsi, à rompre la dynamique créée par ses prédécesseurs.






หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ต (ฝรั่งเศส:Napoléon III de France อังกฤษ:Napoleon III of France ค.ศ. 1808 - ค.ศ. 1873) เป็นประธานาธิบดีคนแรกแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส และได้กลายเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศสหลังจากการก่อรัฐประหาร โดยใช้พระนามว่าพระเจ้านโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส
ในแง่ของความสัมพันธ์กับราชวงศ์โปนาปาร์ตนั้น หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ต เป็นบุตรชายของหลุยส์ โบนาปาร์ต น้องชายของนโปเลียน โบนาปาร์ต และกษัตริย์แห่งเนเธอร์แลนด์ ได้กลายเป็นบุตรชายคนโตของตระกูลโบนาปาร์ตหลังจากที่พี่ชายของเขา และนโปเลียนที่ 2 (ดยุคแห่งไรชตัด บุตรชายของ นโปเลียน โบนาปาร์ต)เสียชีวิตลง
เขาทำให้ประชาชนได้รู้จักแนวความคิดทางปรัชญาของเขาในหนังสือ แนวความคิดของนโปเลียน ที่ผสมทั้งแนวโรแมนติก อิสระนิยมที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชา และสังคมนิยมแบบยูโทเปีย ความพยายามก่อกบฏครั้งแรกของเขาล้มเหลว ถูกมองในแง่ลบและไม่มีปวงชนหนุนหลัง แต่กระแสการปฏิวัติในปีค.ศ. 1848ก็ผลักดันให้เขาขึ้นมาถึงตำแหน่งสูงสุดของการเมือง







ฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกษัตริย์จนถึงการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1792 จึงเปลี่ยนมาใช้ระบอบสาธารณรัฐ หลังจากนั้นนโปเลียน โบนาปาร์ตได้ตั้งตัวเองเป็นจักรพรรดิและรุกรานประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรป เมื่อนโปเลียนพ่ายแพ้ ฝรั่งเศสจึงกลับมาใช้ระบบสาธารณรัฐอีกครั้ง เรียกว่ายุคสาธารณรัฐที่สอง แต่ก็อยู่ได้ไม่นานเพราะหลุยส์ นโปเลียน หลานลุงของนโปเลียนได้ยึดประเทศและตั้งจักรวรรดิที่สองอีกครั้ง
ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง ทศวรรษที่ 60 ซึ่งเป็นยุคล่าอาณานิคม จักรวรรดิฝรั่งเศสมีพื้นที่ใหญ่มาก โดยช่วงที่ใหญ่ที่สุดคือช่วงยุคทศวรรษที่ 20 ถึง 30 ซึ่งมีกว่า 12,898,000 ตารางกิโลเมตร และเป็นจักรวรรดิอันดับสองของโลก รองมาจากจักรวรรดิอังกฤษ
ฝรั่งเศสได้รับความบอบช้ำอย่างหนักจากสงครามโลกทั้งสองครั้ง ปัจจุบันใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบที่มีทั้งประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรี (เรียกยุคสาธารณรัฐที่ห้า) ทศวรรษที่ผ่านมาฝรั่งเศสและเยอรมนีเป็นผู้นำของการรวมตัวตั้งประชาคมยุโรป ซึ่งพัฒนามาเป็นสหภาพยุโรปในปัจจุบัน
ฝรั่งเศสยังเป็น 1 ใน 5 สมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2550

***/// ภาษาฝรั่งเศษวันละคำ ///***


love me love my dog




pe=text/css>
A:link { color: #63B8FF; text-decoration:none}
A:visited {color: #63B8FF; text-decoration: none}
A:hover {color: #63B8FF; text-decoration: underline}

ฝรั่งเศสวันละคำ
ว่าแล้วก้อมารู้จักกับภาษาฝรั่งเศสกันดีกว่าจ้า ... คำๆ นี้ได้มาจากนวนิยายแปลเยาวชนที่ทุกคนน่าจะรู้จักกันดี เพราะผู้ที่แต่งเรื่องนี้ก็คือ J.K. Rolling -- Harry Potter นั่นเอง และที่จะนำเสนอนี้ก็มาจากภาคที่กำลังจะเข้าฉายในบ้านเราเร็วๆ นี้แล้ว นั่นก็คือตอน " ภาคีนกฟินิกซ์ " นั่นเอง ...
คำนี้ปรากฏอยู่ที่ตอนที่ซิเรียสพาแฮร์รี่มาดูแผนผังตระกูลแบล็ก ตัวหนังสือขนาดใหญ่ที่อยู่บนสุดของผ้าม่านนั้นเขียนไว้ว่า ...
ตระกูลแบล็กที่สูงส่งและเก่าแก่ที่สุด
" Tourjours Pur "
( บริสุทธิ์ตลอดกาล )
คำว่า Tourjours Pur ( อ่านว่า ตุ๊ชูค์ - ปูค์ ) แยกได้เป็นคำว่า tourjours ซึ่งแปลว่า สม่ำเสมอ หรือ always ในภาษาอังกฤษ และคำว่า Pur แปลว่า บริสุทธิ์ หรือ Pure ในภาษาอังกฤษนั่นเอง ....

















วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2550





ฝรั่งเศส ดินแดนแห่งเทศกาล

งานฉลองที่มีสีสันและสนุกสนานตั้งแต่เช้ายันค่ำ จะหมุนเวียนจัดกันไปจัดตามเมืองต่างๆ ทั่วฝรั่งเศส
งานเทศกาลที่จัดกันในปัจจุบันล้วนเป็นมรดกตกทอดสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งอดีต หมู่บ้านแต่ละแห่งจะต้องมีงานฉลองของตน และในแต่ละเมืองจะต้องมีเทศกาลของดีของเด่นประจำปีไว้สนุกสนานกัน เช่น งานเดินขบวนคนยักษ์ (คนต่อขา) ของทางตอนเหนือของฝรั่งเศส งานคาร์นิวัลเมืองนีซ (Nice) งาน Ferias เมืองนีมส์ (Nîmes) และเมืองอาร์ล (Arles) งานประจำปีเมืองบายอน (Bayonne) หรือเมืองเบซิเยส์ (Béziers) ฯลฯ งานเหล่านี้เป็นที่รวมความสนุกสนานของชาวเมืองซึ่งยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวจากต่างถิ่นให้มาร่วมความบันเทิงด้วยกัน นอกจากงานเทศกาลต่างๆ ในเขตภูมิภาคแล้ว ฝรั่งเศสยังมีงานสำคัญประจำปีระดับชาติอีก 2 งาน ซึ่งทุกเมืองจะเฉลิมฉลองพร้อมๆ กัน งานแรกคืองานวันชาติ 14 กรกฎาคมซึ่งเป็นวันสำคัญที่เปิดตัวด้วยการสวนสนามของทหารเหล่าต่างๆ และจัดขึ้นอย่างใหญ่โตที่ถนนชองส์-เอลิเซ่ส์ (Champs-Elysées) อันเลื่องชื่อของปารีส พอถึงกลางคืนจะมีการจุดดอกไม้ไฟที่สวยงามตระการตา และมีงานเต้นรำที่สนุกสนานแบบฝรั่งเศสแท้ ส่วนตามเมืองใหญ่ๆ มักจัดการแสดงดนตรีกลางแจ้งให้ชมกันโดยไม่ต้องเสียค่าผ่านประตู งานใหญ่งานที่สองคือ เทศกาลดนตรีซึ่งจัดขึ้นทุกวันที่ 21 มิถุนายน เทศกาลนี้เปิดโอกาสให้คนรักดนตรีทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นได้แสดงความสามารถกันเต็มที่และสุดเหวี่ยงในท้องถนนและทุกหนทุกแห่ง นอกจากนี้ยังมีเทศกาลเพลงคลาสสิค ละคร ละครสัตว์ และอื่นๆ อีกมากมายตลอดทั้งปี เพียงเท่านี้คุณก็คงพอรู้แล้วว่าในฝรั่งเศสความสนุกสนานเพลิดเพลินนั้นไม่มีการเว้นวรรคจริงๆ
สำหรับคนนอนไม่หลับ
ราตรีที่หวานซึ้งหรือค่ำคืนที่เฮฮาเป็นบรรยากาศที่คุณเลือกได้ในสถานบันเทิงที่มีอยู่มากมายหลายแห่ง ถ้าคุณชอบดื่มสังสรรค์กับเพื่อนๆ ในบรรยากาศที่เป็นกันเองแล้วล่ะก็ ตามเมืองใหญ่ๆ ของฝรั่งเศสมีบาร์ซึ่งเปิดเพลงทุกสไตล์ให้เลือกตามรสนิยม ทั้งลาติโน แจ๊ซ ไลท์ มิวสิค เว็บ เทคโน หรือแม้แต่เพลงอาหรับ... และถ้าใครยังไม่เหนื่อยอยากไปเต้นรำต่อ ก็ยังมีสถานบันเทิงขนาดยักษ์ที่เปิดเพลงมันๆ หลายสไตล์โดยดีเจจากทั่วโลก ให้นักดิ้นเท้าไฟได้สะบัดในทุกท่วงท่า ทั้งฮิปฮอป แจ็ซ โซล หรือเพลงแอฟริกัน ส่วนคุณที่ชอบลีลาศแบบหรูหรือบอลรูมแบบเก่าย้อนยุค ก็รับรองว่าไม่มีวันผิดหวัง และเมื่อยามเช้ามาถึงแต่คุณยังมีแรงเที่ยวต่อ ก็ยังมีที่ที่คุณจะได้สนุกส่งท้ายกันอีก
คุณอยากไปร่วมงานคาร์นิวาลที่สนุกสนานสุดเหวี่ยงที่มาร์ตินิกหรือที่กัวดาลูป
คุณจะไปเที่ยวเมืองน็องต์ (Nantes) ในแคว้นเปย์ เดอ ลา ลัวร์ (Pays de la Loire) ในช่วงงานคาร์นิวัล

วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2550