วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2550






À la fin du Moyen Âge l’Espagne des rois catholiques et les possessions des Habsbourg s’unissent, ce qui donne naissance à l’empire de Charles Quint. François Ier et son fils Henri II luttent contre cette nouvelle puissance avec des succès et des revers. Mais les guerres de religion qui marquent la seconde moitié du XVIe siècle et le règne des derniers Valois (François II, Charles IX, Henri III) éloignent la France du théâtre européen.
Il faut attendre Henri IV, puis Louis XIII et son ministre Richelieu, pour que la prépondérance espagnole soit remise en cause au profit de la France. Malgré la disparition prématurée de ces acteurs, l’équilibre des forces est rétabli puis renversé, par de grands politiques comme Mazarin, notamment en 1648 (traité de Westphalie) et 1659 (traité des Pyrénées).
Dans le domaine colonial, le bilan est en revanche mitigé : malgré un bon départ en Amérique avec l’expédition de Jacques Cartier sous François Ier, une implantation réussie aux Antilles, en Louisiane, et au Sénégal sous Louis XIV, le manque de détermination de Louis XV a conduit à de graves échecs devant les Anglais en Inde et au Canada, et, ainsi, à rompre la dynamique créée par ses prédécesseurs.






หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ต (ฝรั่งเศส:Napoléon III de France อังกฤษ:Napoleon III of France ค.ศ. 1808 - ค.ศ. 1873) เป็นประธานาธิบดีคนแรกแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส และได้กลายเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศสหลังจากการก่อรัฐประหาร โดยใช้พระนามว่าพระเจ้านโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส
ในแง่ของความสัมพันธ์กับราชวงศ์โปนาปาร์ตนั้น หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ต เป็นบุตรชายของหลุยส์ โบนาปาร์ต น้องชายของนโปเลียน โบนาปาร์ต และกษัตริย์แห่งเนเธอร์แลนด์ ได้กลายเป็นบุตรชายคนโตของตระกูลโบนาปาร์ตหลังจากที่พี่ชายของเขา และนโปเลียนที่ 2 (ดยุคแห่งไรชตัด บุตรชายของ นโปเลียน โบนาปาร์ต)เสียชีวิตลง
เขาทำให้ประชาชนได้รู้จักแนวความคิดทางปรัชญาของเขาในหนังสือ แนวความคิดของนโปเลียน ที่ผสมทั้งแนวโรแมนติก อิสระนิยมที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชา และสังคมนิยมแบบยูโทเปีย ความพยายามก่อกบฏครั้งแรกของเขาล้มเหลว ถูกมองในแง่ลบและไม่มีปวงชนหนุนหลัง แต่กระแสการปฏิวัติในปีค.ศ. 1848ก็ผลักดันให้เขาขึ้นมาถึงตำแหน่งสูงสุดของการเมือง







ฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกษัตริย์จนถึงการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1792 จึงเปลี่ยนมาใช้ระบอบสาธารณรัฐ หลังจากนั้นนโปเลียน โบนาปาร์ตได้ตั้งตัวเองเป็นจักรพรรดิและรุกรานประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรป เมื่อนโปเลียนพ่ายแพ้ ฝรั่งเศสจึงกลับมาใช้ระบบสาธารณรัฐอีกครั้ง เรียกว่ายุคสาธารณรัฐที่สอง แต่ก็อยู่ได้ไม่นานเพราะหลุยส์ นโปเลียน หลานลุงของนโปเลียนได้ยึดประเทศและตั้งจักรวรรดิที่สองอีกครั้ง
ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง ทศวรรษที่ 60 ซึ่งเป็นยุคล่าอาณานิคม จักรวรรดิฝรั่งเศสมีพื้นที่ใหญ่มาก โดยช่วงที่ใหญ่ที่สุดคือช่วงยุคทศวรรษที่ 20 ถึง 30 ซึ่งมีกว่า 12,898,000 ตารางกิโลเมตร และเป็นจักรวรรดิอันดับสองของโลก รองมาจากจักรวรรดิอังกฤษ
ฝรั่งเศสได้รับความบอบช้ำอย่างหนักจากสงครามโลกทั้งสองครั้ง ปัจจุบันใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบที่มีทั้งประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรี (เรียกยุคสาธารณรัฐที่ห้า) ทศวรรษที่ผ่านมาฝรั่งเศสและเยอรมนีเป็นผู้นำของการรวมตัวตั้งประชาคมยุโรป ซึ่งพัฒนามาเป็นสหภาพยุโรปในปัจจุบัน
ฝรั่งเศสยังเป็น 1 ใน 5 สมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง

ไม่มีความคิดเห็น: